Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         2




               3.  วิธีการกักกันพืช

                        การกักกันพืช  ก็เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากแหล่งหนึ่ง  ไปสู่ยังอีก

               แหล่งหนึ่ง  เนื่องจากเชื้อโรคมีขนาดเล็กมากเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เลย  และสามารถติดไป
               กับพันธุ์พืชหรือชิ้นส่วนของพืชได้  การกักกันพืชนี้ปกติมีอยู่  2  ระดับ  ระดับแรกเป็นหน้าที่ทางราชการ

               โดยตรงคือ   รัฐเป็นผู้ดําเนินการระหว่างประเทศ   โดยตั้งด่านตรวจพืชขึ้นเพื่อตรวจพืชกับผู้ที่จะนําพืชเข้า-

               ออกประเทศ  ตามจุดต่าง ๆ  เช่น  ตามท่าอากาศยานบางแห่ง   ท่าเรือบางแห่งและจุดเข้า-ออกภาคพื้นดินตาม
               ชายแดน   โดยมีพืชบางชนิดห้ามนําเข้าโดยเด็ดขาดและมีพืชบางชนิดสามารถนําเข้ามาได้  แต่ต้องมี

               ใบรับรองการปลอดโรค  นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยโรคตามความจําเป็นได้อีกด้วย  ส่วนอีกระดับหนึ่ง

               นั้น  เป็นการดําเนินการระดับท้องถิ่น  ซึ่งรัฐยังมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยมาก  ฉะนั้น  เจ้าของสวนผลไม้
               จําเป็นต้องดําเนินการเอง  คือ  พยายามอย่าให้ผู้ใดนําพืชทุกรูปแบบจากแหล่งอื่นผ่านเข้ามาในสวน   หรือ

               บริเวณที่ปลูกของเกษตรกรเพื่อช่วยสะกันกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเข้ามาสู่ในสวนของเกษตรกรที่

               กําลังปลูกอยู่


               4.  วิธีการทางชีวภาพ

                        การป้องกันและกําจัดโรคพืชโดยวิธีการทางชีวภาพ  เป็นวิธีการที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้มาก  แต่

               โดยทั่วไปแล้ว  ในธรรมชาติก็มีสิ่งมีชีวิตทําลายสิ่งที่มีชีวิตเกิดอยู่แล้วทั่วไป  มีตัวอย่างมากมาย  เช่น  เชื้อรา

               Trichoderma  viride  และ  T. lignonum   เจริญอยู่ในดินจะทําลายเชื้อรา  Phytophthora  spp.  อันเป็นสาเหตุ
               โรครากและโคนเน่าของพืชหลายชนิด  และยังกําจัดเชื้อรา   Armillaria  mellea  สาเหตุโรครากเน่า

               นอกจากนี้ยังมีเชื้อ  Actinomycetes  ทําลายเชื้อรา  Fusarium  oxysporum   f.sp.  cubense สาเหตุโรคตาย

               พรายของกล้วย ข้อมูลที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่
               นักวิชาการได้ค้นพบ  ฉะนั้น  ถ้ามีเชื้อจุลินทรีย์อื่นใดที่สามารถใช้ป้องกันและกําจัดเชื้อโรคของพืชได้ก็จะมี

               ประโยชน์อย่างยิ่ง  สําหรับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้นสามารถทําการเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่ทําลายเชื้อโรคของ

               พืชให้มีปริมาณมากขึ้น   แล้วนําไปปล่อยในดินตามบริเวณสวนผลไม้และสมุนไพร


               5.  วิธีการทางเคมี

                        เป็นที่น่าสังเกตว่าเกษตรกรนิยมใช้สารเคมีมาทําการป้องกันและกําจัดโรคพืชกันมากยิ่งขึ้นแต่

               สารเคมีเหล่านั้นเป็นวัตถุมีพิษ   เกษตรกรผู้ใช้จําเป็นจะต้องมีความระมัดระวังมาก   เพราะถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็

               อาจจะทําให้ถึงเสียชีวิตได้   หรืออย่างน้อยก็อาจจะอยู่ในสภาพตายผ่อนส่ง   ก่อนใช้จึงควรสวมหน้ากากกัน

               พิษพร้อมทั้งใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด   และภายหลังการใช้แล้วก็จะต้องอาบนํ้าชําระร่างกาย   ซักเสื้อผ้าให้สะอาด
               ถ้าหากได้รับอันตรายจากสารพิษก็ต้องรีบนําส่งโรงพยาบาลทันที
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13