Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:
เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Corticium penicillatum โรคนี้จะระบาดได้ดีเมื่อมี
ความชื้นสูง เนื่องจากราชนิดนี้ต้องการความชื้นเพื่อขยายการเจริญเข้าทําลายพืชส่วนนั้น
การป้องกันและกําจัด:
ตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วนําเอาไปเผาไฟทําลายเสีย อย่าให้หลงเหลืออยู่แม้แต่
น้อย เพราะแพร่กระจายได้โดยเร็วเมื่อมีความชื้นที่พอเหมาะ กําจัดโดยใช้ยา Cyfluthin 20 กรัมต่อนํ้า 20
ลิตร พ่น
7. โรคยางไหล
ลักษณะอาการ:
โดยทั่วไปจะพบเห็นได้ว่า เมื่อเกิดโรคเข้าทําลาย คือจะมีนํ้ายางสีแดงเข้ม หรือ เหลือง
หม่น ไหลออกมาจากรอยแผลแตกนั้น และนํ้ายางจะเป็นสีนํ้าตาลเข้มขึ้น จนเป็นสีนํ้าตาลไหม้ โดยเฉพาะ
โรคจะเกิดที่บริเวณลําต้นช่วงล่างที่สูง 3 – 6 ฟุต เมื่อตรวจดูเนื้อแผลนั้นจะเห็นสีเหลือง ถึง สีนํ้าตาล ต้นที่
เป็นโรคจะทรุดโทรมมากอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:
โรคนี้เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อรา Thielaviopsia paradoxa โดยเชื้อโรคเข้าสู่ลําต้น
ทางบาดแผล แต่เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ภายในก็จะเพิ่มทวีความรุนแรงมากเมื่อความชื้นเหมาะสม แมลงเป็นตัว
สําคัญในการเป็นพาหะนําพาเชื้อโรคไประบาด
การป้องกันและกําจัด:
ขูดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วย Copper oxychloride
หรือ Fylomac ก็ได้ผลเช่นกัน