Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13
5. โรคราดํา
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการเกิดที่ช่อดอก หลังจากที่ดอกเริ่มบานจะมีคราบของราสีดําเกาะ มีลักษณะ
เหมือนถูกเขม่าสีดําและเกิดจับติดที่หน้าใบและกิ่ง คราบสีดํานี้เมื่อแห้งอาจร่อนหลุดออกเป็นแผ่นๆ ได้
โดยง่าย อาการที่เกิดที่ช่อดอกมักจะพบการทําลายโดยทั่วต้น ทําให้ไม่ติดผลเพราะเชื้อราเคลือบเกสรตัวเมีย
และตัวผู้ทั้งต้น ทําให้ดอกร่วง ไม่ติดผล ส่วนใหญ่เกิดจากการทําลายของแมลงดูดกินนํ้าเลี้ยง ทําให้ผลอ่อน
หรือดอกร่วงหล่นเป็นจํานวนมากควบคู่กันไปด้วย
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อราดํา Meliola mangiferae Capnodium ramosum ขึ้นปกคลุมเจริญอยู่บน
นํ้าหวานที่เกิดจากการถ่ายออกมาของแมลงปากดูด โดยเฉพาะแมลงที่สําคัญซึ่งทําลายช่อดอกมะม่วงก็คือ
แมลงพวกเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง เป็นต้น
การป้องกันและกําจัด :
ในขณะที่มะม่วงกําลังเริ่มแทงช่อดอก เป็นระยะเวลาที่สําคัญมากหากสังเกตว่ามีหมอก
มากและเริ่มมีแมลงปากดูดรบกวน โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น จึงเป็นระยะที่จะป้องกันกําจัดได้ด้วยการใช้สาร
ฆ่าแมลงที่ให้ผลดี เช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรืออาจจะฉีดพ่นควบคู่กับสารป้องกันโรค เช่น ไซ
ฟลูธริน 40 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร สําหรับสารป้องกันกําจัดแมลงนั้น อาจใช้ โอเมทโธเอท 50 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร
แทนก็ได้ผลดีต่อแมลงดังกล่าว
6. โรคยอดแห้ง
ลักษณะอาการ :
ที่บริเวณส่วนปลายของกิ่งจะมีอาการใบแห้ง ซึ่งต่อมากิ่งที่เป็นโรคจะค่อย ๆ แห้งลง แล้ว
แห้งตายทั้งกิ่ง ถ้ากิ่งแตกขึ้นมาใหม่จากลําต้นหรือกิ่งอื่น ๆ แต่ก็จะเป็นโรคได้อีกจนต้นทรุดโทรม อาการที่
กิ่งและต้นจะบวมออกเป็นปุ่มโปน แล้วเปลือกแตกมียางไหล มะม่วงที่เป็นโรคถ้าหากออกช่อได้ก็ติดผล
ยาก ส่วนมากจะหล่นไปและถ้าติดผล ผลมะม่วงก็จะแสดงอาการด่างเป็นจํ้าเหลือง ๆ อยู่ทั่วไปทั้งผล แต่
ตรงส่วนนั้นเนื้อเยื่ออ่อนกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อกดจะบุ๋มยุบลงไปง่าย
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
สาเหตุเกิดจาก มายโคพลาสมา ( Mycoplasma) โรคนี้ถ่ายทอดลักษณะอาการเป็นโรคได้
โดยการนํายอดพันธุ์ที่เป็นโรคมาเสียบกับต้นมะม่วงปกติ โรคก็จะถ่ายทอดให้กับมะม่วงปกติแสดงอาการนี้
ได้ในเวลา 4-8 เดือนหลังเสียบกิ่ง ฉะนั้น การแพร่ระบาดของโรคนี้เป็นไปได้อย่างกว้างขวางด้วยวิธีการ
ขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง โรคนี้โดยทั่วไปแล้ว จะมีแมลงเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettex hiroglyphicus เป็นตัว
พาหะนําเชื้อโรคไปแพร่ระบาดสู่ต้นอื่นได้อีก