Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       14


                        การป้องกันและกําจัด :

                               เลือกพันธุ์ปลูกจากต้นที่ไม่แสดงอาการเป็นโรค  และถ้าต้นใดเป็นโรคก็ต้องขุดออกเผา
               ไฟทําลายเสีย ในสวนที่มีโรคนี้ระบาด หากพบว่ามีเพลี้ยจักจั่นก็ต้องพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์โบซัลแฟน 50

               ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร


               7. โรคราสีชมพู


                        ลักษณะอาการ :
                               อาการจะสังเกตเห็นได้ต่อเมื่อใบเหลืองหรือว่าร่วงแล้ว  แต่ถ้าตรวจดูตามกิ่งที่ถูกทําลาย

               จะเห็นเชื้อราสีขาวอมชมพูอ่อนขึ้นปกคลุมตามกิ่งเหมือนทาด้วยสี และถ้าเฉือนเปลือกบริเวณถูกทําลายจะ

               พบว่าเป็นสีนํ้าตาล ถ้าเชื้อราเจริญรอบกิ่ง กิ่งนั้นก็จะแห้งตาย เชื้อราบริเวณนั้นจะค่อย ๆ  มีสีชมพูหรือสีปูน

               แห้ง  ส่วนที่ถูกทําลายนั้นเกิดจากผิวด้านใต้ของเชื้อรา ที่ฉาบแนบติดอยู่กับผิวเปลือกของกิ่งนั้นเกิดมีลักษณะ
               คล้ายรากเทียมเจริญเข้าไชชอนไปในเนื้อเยื่อ ทําให้เซลล์เนื้อเยื่อเหล่านั้นเน่าผุไปทั่ว เปลือกจะยุ่ย เนื้อไม้ผุ

               หักง่าย ซึ่งค่อย ๆ ลุกลาม กิ่งแห้งตายลงมา โดยจะเกิดตามง่ามกิ่งมากกว่าส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะพุ่มหนาทึบ มี

               ความชื้นสูง จะมีโรคนี้เกิดแพร่ระบาดเป็นมากยิ่งขึ้น
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ทําลายพืชได้หลายชนิด ซึ่งการแพร่ระบาด

               ของโรคโดยอาศัยสปอร์ระบาดไปในที่ ๆ มีการระบายอากาศไม่ดีจะเกิดโรคมาก เช่น ต้นมะม่วงที่มีทรงพุ่ม

               หนาทึบและอับชื้น อย่างไรก็ตามนํ้าก็เป็นพาหะที่สําคัญมากในการนําสปอร์ของเชื้อรา ไหลไปสู่ส่วนอื่น ๆ
               ทําให้เกิดโรคได้อีก เช่นเดียวกับกระแสลมที่ช่วยในการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ตัดแต่งกิ่งย่อยภายในทรงพุ่มออกให้โปร่ง เพื่อสะดวกต่อการพ่นสารเคมีและป้องกันการ
               อับชื้นสารเคมีที่ใช้นั้น  เช่น  คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เบโนมีล 15 กรัมต่อนํ้า 20

               ลิตร


               8. โรคจุดสาหร่ายสนิม


                        ลักษณะอาการ :
                               อาการปรากฏที่ใบเป็นส่วนมากเกิดเป็นจุดกํามะหยี่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.5 ซม.

               แรก ๆ สีค่อนข้างเขียว  ในระยะต่อมาจุดนี้จะเปลี่ยนเป็นกํามะหยี่สีสนิมเหล็ก ซึ่งเป็นในระยะเกิดสปอร์

               ความเสียหายไม่ปรากฏให้เห็นชัด  แต่เมื่อเกิดเป็นกับกิ่งจะทําให้ผิวแตก หากเป็นมากกิ่งจะแห้งและตายได้
               ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าทําลายเนื้อเยื่อภายในของกิ่งนั้นจึงเกิดลักษณะอาการดังกล่าว
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25