Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
22
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว สมควรทาแผลตรงที่ตัดนั้นด้วยปูนแดง หรือจะใช้สารเคมี เช่น คอป
เปอร์ออกซีคลอไรด์ 100 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร ทาแผลก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
22. โรคผลเน่าดํา
ลักษณะอาการ :
โรคผลเน่าดํานี้จะเกิดขึ้นในระยะที่ผลมะม่วงเจริญหรือแก่เต็มที่แล้ว ซึ่งจะเป็นระยะที่ผล
มะม่วงเข้าไคลนวล โดยเชื้อราจะเข้าทําลายที่ผิวของผลและแผ่ขยายการทําลายไปในเนื้อเยื่อเกิดเน่าเป็นจุดสี
นํ้าตาลดํา จุดจะขยายโตขึ้นอาจเกิดเน่าไปครึ่งผลอย่างเห็นได้ชัด โรคนี้มักจะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงระยะหลัง
การเก็บเกี่ยวไปแล้ว และจะแพร่ระบาดเข้าทําลายผลมะม่วงอื่น ๆ ทําให้เกิดอาการเน่าเป็นจํานวนมากยิ่งขึ้น
โรคนี้จึงมีความสําคัญมากเพราะเข้าทําลายผลที่กําลังแก่ซึ่งจะส่งไปตลาดเพื่อจําหน่ายอยู่แล้ว ผลที่เน่าอยู่บน
ต้นอาจยังห้อยติดอยู่กับกิ่งก้านเมื่อเกิดเพียงจุดเล็ก ๆ ยิ่งไม่อาจมองเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้ามีอาการมากรุนแรง
จะทําให้ผลร่วงหล่นได้
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Dothiorella mangiferae เชื้อจะเกิดเป็นตุ่มฝังอยู่ตามเนื้อเยื่อ นํ้า
และลมเป็นพาหะที่สําคัญในการแพร่ระบาดของสปอร์ที่หลุดออกมา
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะที่ผลใกล้จะแก่หรือเจริญเต็มที่ควรพ่นด้วยสารเคมีให้ทั่ว เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อ
นํ้า 20 ลิตร และเก็บผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟเสีย
23. โรคผลเน่าสีจาง
ลักษณะอาการ :
ในระยะเริ่มแรกสปอร์ของเชื้อราสาเหตุจะงอกเข้าทําลายผลที่สุกหรือกําลังใกล้จะสุกทํา
ให้เกิดเป็นจุดเท่าหัวเข็มหมุด แต่จุดกลับมีสีจางกว่าผิวของผล เมื่อจุดขยายเป็นแผลใหญ่ขึ้นก็จะทําให้
เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเน่ามีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นสีนํ้าตาล ฉํ่านํ้า ผิวของผลบริเวณเหนือส่วนที่เป็นโรคนั้นจะ
ค่อยๆ ยุบตัวลง หรือ บุ๋มลงไป ในที่สุดก็จะมีกลุ่มเส้นใยของเชื้อราสีค่อนข้างดําหรือสีดํา เกิดเจริญอยู่เต็ม
บนแผลนั้น โดยทั่วไปโรคจะเกิดเป็นมากกับผลมะม่วงที่เก็บมาไว้ในเรือนโรง เพื่อเตรียมบรรจุหีบห่อ เพื่อ
ส่งจําหน่ายออกสู่ตลาด ฉะนั้นถ้าอากาศถ่ายเทในโรงเก็บผลไม่ดีพอ ก็จะทําให้มะม่วงเกิดเป็นโรคอย่าง
รวดเร็วและเกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น