Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
30
บทที่ 3
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยเรื่อง การจัดการห่วงโซ่อุปทานปลาน้ าจืดธรรมชาติสู่การเพิ่มมูลค่าในเขตภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้เทคนิคการเก็บ
ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1 ประชากร
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
(1) ภาคการผลิต
1. กลุ่มชาวประมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย
- อ่างปลาบึกแม่น้ าโขง อ าเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
- อ่างน้ าพาน อ าเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
- พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดหนองบัวล าภู
- หนองหาน จังหวัดสกลนคร
- พื้นที่โดยรอบเขื่อนล าปาวจังหวัดกาฬสินธุ์
- ปากแม่น้ าสงคราม อ าเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
2. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา 6 พื้นที่จากข้อ 1.
(2) ภาคการตลาด
กลุ่มผู้ซื้อปลาสดในตลาดส าคัญจ านวน 6 ตลาดของ 6 จังหวัด ประกอบด้วย
- ตลาดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
- ตลาดสดเทศบาลนครอุดรธานี
- ตลาดสดเทศบาลนครขอนแก่น
- ตลาดสดเทศบาลนครสกลนคร
- ตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
- ตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนม
3.1.2 จ้านวนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
1. ตัวแทนกลุ่มชาวประมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6 พื้นที่อย่างน้อย
กลุ่มละ 5 คน และชาวประมงนอกกลุ่ม พื้นที่ละอย่างน้อย 5 คน
2. ตัวแทนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา 6 พื้นที่อย่างน้อยกลุ่มละ 5 คน และผู้แปรรูป
ผลิตภัณฑ์นอกกลุ่ม พื้นที่ละอย่างน้อย 5 คน
3. กลุ่มลูกค้าซื้อปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตลาดส าคัญ โดยก าหนดขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% และค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้คือ 0.05 โดยใช้สูตรการ
ค านวณกลุ่มตัวอย่างของ W.G.cochran (1953) โดยไม่ทราบจ านวนประชากรทั้งหมด