Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
28
ตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ ปลากะพง ปลาเทราต์ และ ปลาแซลมอนสดใหม่ โดยใน
การศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อการเลือกบริโภคเนื้อปลานั้น Conte, F. et al. (2014) แสดงถึง
คุณภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และ
น ามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ปลาที่แตกต่างกัน ในท านองเดียวกัน
FarahAhmed, A. et al. (2011) ที่ได้ท าการส ารวจได้ด าเนินการกับครัวเรือน ในกรุงกัวลาลัมเปอร์
ซึ่งใช้การเก็บแบบสอบถามจากผู้ตอบแบบสอบถาม 700 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ พบว่า ทัศนคติ
ส่วนบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจซื้อปลาทะเลในหมู่ผู้บริโภคชาวมาเลเซีย ประกอบด้วย พฤติกรรมการ
รับรู้ถึงการบริโภคปลาทะเลสด รสนิยมและคุณค่าทางโภชนาการของปลาสดได้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
การซื้อปลา
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดปลาต่าง ๆ มีพฤติกรรม
และมีปัจจัยหลายปัจจัยเป็นตัวที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อของผู้บริโภค เช่น ประสบการณ์การรับรู้และ
ความชอบมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ ปลากะพง ปลาเทราต์ และ
ปลาแซลมอนสดใหม่ (Fayyaz A. Nauman, 1995) ซึ่งมีความส าคัญต่อตลาดปลา ดังนั้นปัจจัย
ดังกล่าวเหล่านี้จึงถูกน ามาใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภคปลาสด
และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืดจากแหล่งน้ าธรรมชาติในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
นอกจากนี้จึงควรที่จะมีการศึกษาการจัดการโซ่อุปทานปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืด
จากแหล่งน้ าธรรมชาติว่ามีลักษณะอย่างไร ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่จัดจ าหน่าย การก าหนดราคา และ
ระบบตลาด อันจะน าไปสู่ข้อมูลทางวิชาการที่จะสนับสนุนให้ภาครัฐสนับสนุนและก าหนดทิศทางใน
อนาคต
2.3 กรอบแนวคิดของการวิจัย
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการ
ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้จัดส่ง ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้าและลูกค้า ซึ่งเป็นการจัดการในระบบแนวดิ่ง ส่วน
ความร่วมมือในแนวราบนั้นจะรวมถึงธุรกิจที่มีลักษณะส่งเสริม สนับสนุน หรือเป็นคู่ค้าที่มีประโยชน์
ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต หรือยกระดับความสามารถของตนได้ ซึ่งอาจจะเป็นธุรกิจที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกัน แนวคิดการหันมาจับมือกับธุรกิจรอบตัวนี้เป็นแนวคิดที่เรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน
(อราคิ, 2547) ดังภาพที่ 2.6 โดยในการจัดการโซ่อุปทาน ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ (Lambert and
Cooper, 2000)
จากการทบทวนวรรณกรรมด้านห่วงโซ่อุปทาน ท าให้มีความเชื่อมโยงทั้งภาคการผลิตและ
การตลาด และด้วยความเชื่อมโยงของระบบห่วงโซ่อุปทานของการผลิต จึงน าไปสู่การเชื่อมโยงภาค
การตลาดปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา จากนั้นจะอาศัยเชื่อมโยงโดยการผ่านพ่อค้าคนกลาง
เรียกว่า “พ่อค้าคนกลาง” โดยจะอาศัยแนวคิดเรื่องการจัดการองค์กรที่เหมาะสมมาใช้ในการปฏิบัติ
ผ่านการสร้างระบบเงินทุนในการผ่านระบบสมาชิกกลุ่มประมงชาวบ้าน ทั้งนี้ในการวิจัยจะมุ่งเน้น
แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาอีกทางหนึ่ง โดยการศึกษาความเป็นไปได้
ในลักษณะการศึกษาผลิตภัณฑ์แปรรูปในผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มส าหรับผลิตภัณฑ์