Page 124 -
P. 124

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                                122
                       ลักษณะการเกษตรที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อตัวแปรความยั่งยืนในแต่พื้นที่ในบางประเด็น  โดยจาก
               ข้อมูลการสํารวจพบข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ (แสดงในตารางที่ 5.3 ส่วนตัวแปรด้านเศรษฐกิจ ตัวแปรด้าน
               สังคม และตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม)

                       1)  ประเด็นทางเศรษฐกิจ

                       -  รายได้
                                 ผลผลิตที่สร้างรายได้ต่อไร่สูงได้แก่พริกหวานและเมล็ดพันธุ์ โดยการปลูกพริกหวานใน

                          โรงเรือนในบ้านถ้ําเวียงแกมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงที่สุดถึงเกือบ 6 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปี เนื่องจากเป็น
                          การปลูกพืชที่ใช้จุดเด่นของพื้นที่ (ความสูงของพื้นที่และอากาศเหมาะสม) ส่วนการทําเมล็ดพันธุ์

                          สร้างรายได้สุทธิเกือบ 55,000 บาทต่อไร่ต่อปี อย่างไรก็ตาม การปลูกพริกหวานในโรงเรือนและ

                          เมล็ดพันธุ์นี้จะทําในพื้นที่ไม่ใหญ่นัก
                                 ในขณะที่ผลผลิตที่สร้างรายได้ต่อไร่ปานกลางได้แก่ การปลูกผักผสมผสานทั้งในและนอก

                          โรงเรือน (บ้านแม่จริมและโป่งคํา) มีรายได้สุทธิประมาณ 26,000 บาทต่อไร่ต่อปี โดยเกษตรกรมี
                          พื้นที่ทําพืชผสมผสานไม่มากนัก

                                 การปลูกมะม่วงทํารายได้สุทธิต่อไร่ให้เกษตรกรไม่มากนัก ประมาณ 14,000 บาทต่อไร่

                          ต่อปี ในขณะที่การปลูกกาแฟสร้างรายได้สุทธิต่อไร่โดยเฉลี่ยต่ําที่สุด เพียงประมาณ 8 พันบาทต่อ
                          ไร่ต่อปี แต่ผลผลิตทั้ง 2 นี้ เกษตรกรสามารถปลูกในพื้นที่กว้างกว่า ทําให้มีรายได้ทั้งหมดค่อนข้าง

                          สูง

                       -  การกระจายของกระแสรายได้ในรอบปี
                                 ในแง่การกระจายของกระแสรายได้พบว่า การทําเกษตรแบบโรงเรือน ทั้งแบบเน้น

                          โรงเรือน (บ้านถ้ําเวียงแก) และแบบผสมผสานทั้งในและนอกโรงเรือน (แม่จริมและโป่งคํา) และ
                          การปลูกกาแฟแบบวนเกษตร เกษตรกรจะมีรายได้กระจายไปในแต่ละช่วงของปีที่ดีกว่า เนื่องจาก

                          การทําโรงเรือนจะทําให้เกษตรกรสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีทําให้มีรายได้กระจายตลอดปี

                          ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกกาแฟแบบวนเกษตร เกษตรกรจะมีรายได้จากหลายผลผลิตเนื่องจาก
                          การปลูกกาแฟใช้เวลาในการดูแลไม่มากนัก เกษตรกรจึงมีเวลาในการหารายได้จากอาชีพหรือการ

                          เพาะปลูกอื่นๆ ด้วย
                                 ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงแบบพืชเชิงเดี่ยวและการปลูกเมล็ดพันธุ์จะมีโอกาสได้

                          รายได้จากช่องทางอื่นได้ยาก เนื่องจากต้องใช้เวลาและทักษะในการดูแล ทําให้มีการกระจายของ
                                     123
                          รายได้ต่ํากว่า






               122
                 ผลกระทบต่อความยั่งยืนอาจจะเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยลักษณะการเกษตรและพืชที่เกษตรกรเลือกปลูกเป็นเพียงหนึ่งใน
               ปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลกระทบเท่านั้น การวิเคราะห์ในส่วนนี้อธิบายเฉพาะตัวแปรความยั่งยืนที่ได้รับผลกระทบจากลักษณะ
               การเกษตรและพืชเท่านั้น จึงไม่ได้กล่าวถึงตัวแปรความยั่งยืนทุกตัว

                                                           5-11
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129