Page 119 -
P. 119

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       -  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง ทําให้มีสัดส่วนพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์มีน้อยเช่นกัน (เฉลี่ยที่

                          ร้อยละ 31) โดยในบ้านป่ากลาง แม่จริม และโป่งคํา เป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์สูง
                          กว่าหมู่บ้านอื่นๆ (ประมาณร้อยละ 60-70)

                       -  ในพื้นที่บ้านถ้ําเวียงแก แม่จริม และโป่งคํา สัดส่วนเกษตรกรที่พื้นที่เพาะปลูกสามารถเข้าถึง

                          แหล่งน้ําสาธารณะได้ค่อนข้างสูงในขณะที่บ้านสบเป็ดและป่ากลางมีสัดส่วนเกษตรกรที่เข้าถึง
                          แหล่งน้ําสาธารณะได้ค่อนข้างต่ํา

                       -  ระยะเวลาในการเริ่มทําการเกษตรในปัจจุบันมีความแตกต่างกันไปค่อนข้างมาก โดยหมู่บ้านสบ
                          เป็ด ป่ากลาง และสันเจริญ มีการเปลี่ยนมาปลูกมะม่วงและกาแฟแล้วถึงประมาณ 15 ปี ในขณะ

                          ที่พื้นที่อื่นๆ มีการปลูกพืชในลักษณะปัจจุบันเพียง 4-5 ปี

                       -  เกษตรกรในพื้นที่ที่ทําการศึกษาส่วนใหญ่มีการปลูกพืชผสมผสานหลายอย่างในพื้นที่ของตนเองใน
                          สัดส่วนที่สูง (มากกว่าร้อยละ 80) ยกเว้นในบ้านป่ากลางที่มีสัดส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชผสมผสาน

                          น้อยกว่าพื้นที่อื่นค่อนข้างมาก (ร้อยละ 33)เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในบ้านป่ากลางเน้นการ
                          ปลูกพืชยืนต้นเชิงเดี่ยว (มะม่วง) เป็นหลัก

                       -  ในหมู่บ้านแม่จริม บ้านโป่งคํา และบ้านถ้ําเวียงแก ซึ่งเกษตรกรโดยส่วนใหญ่มีการปลูกผัก

                          โรงเรือนในลักษณะต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยายผลโครงการหลวงและเกษตรกร
                          ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ภายใต้เกษตรพันธะสัญญาใช้พื้นที่ในการทําโรงเรือนและปลูกพืชหลักน้อยมาก

                          เพียงประมาณ 1 ไร่ ในขณะที่เกษตรกรในหมู่บ้านอื่นใช้พื้นที่ในการปลูกพืชหลักค่อนข้างมาก

                          โดยใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด ยกเว้นเกษตรกรในหมู่บ้านมณีพฤกษ์ที่ยังคงมี
                          พื้นที่ปลูกกาแฟในสัดส่วนน้อย เนื่องจากเพิ่งเริ่มมีการขายผลผลิตอย่างจริงจัง

                       -  ดัชนีความหลากหลายในการใช้พื้นที่ในแต่ละหมู่บ้านใกล้เคียงกัน (ช่วงระหว่าง 0.2-0.5 โดยมี
                          ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.44) ยกเว้นในพื้นที่บ้านป่ากลางที่มีดัชนีสูงกว่าที่อื่นมาก (0.81) แสดงให้เห็นว่า

                          มีความหลากหลายในการใช้พื้นที่ต่ํากว่าพื้นที่อื่นสอดคล้องกับลักษณะการเกษตรในบ้านป่ากลาง

                          ที่เป็นการปลูกพืชยืนต้นเชิงเดี่ยว (มะม่วง)
                       -  เกษตรกรในบ้านสบเป็ด บ้านถ้ําเวียงแก และบ้านแม่จริม มีสัดส่วนรายได้จากการเกษตรต่อ

                          รายได้ทั้งหมดค่อนข้างสูง (ร้อยละ 90-100) รองลงมาได้แก่บ้านสันเจริญ (ร้อยละ 88) และบ้าน
                          ป่ากลาง บ้านมณีพฤกษ์ และบ้านโป่งคํา




















                                                           5-6
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124