Page 121 -
P. 121
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวพบว่า มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานของ
เกษตรกรและการเลือกลักษณะการเกษตรดังนี้
1) การเข้าถึงแหล่งน้ําเป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดพืชที่ปลูก โดยพบว่าในพื้นที่ที่เข้าถึงแหล่งน้ําได้
จะทําให้เกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกพืชผักหมุนเวียนทั้งในระบบโรงเรือนและนอกระบบ
โรงเรือนได้ (บ้านถ้ําเวียงแก แม่จริม และโป่งคํา) ในขณะที่พื้นที่บ้านสบเป็ดและป่ากลางซึ่งมี
สัดส่วนพื้นที่ชลประทานต่ํากว่า เกษตรกรเลือกปลูกมะม่วงซึ่งเป็นไม้ยืนต้นและมีความต้องการน้ํา
น้อยกว่า
2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างบ้านสบเป็ดและบ้านป่ากลางพบว่า เกษตรกรในบ้านป่ากลางมีพื้นที่ทํา
กินน้อยกว่า ทําให้เกษตรกรทุ่มเทในการปลูกมะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก โดยมีสัดส่วนการปลูก
พืชหมุนเวียนและมีความหลากหลายในการใช้ที่ดินน้อย และจากพื้นที่ที่จํากัดนี้ทําให้เกษตรกรหา
รายได้เสริมจากการรับจ้าง ทําให้สัดส่วนรายได้เกษตรต่อรายได้ทั้งหมดน้อยกว่าด้วยเช่นกัน
3) การปลูกพืชผักผสมผสานเป็นแนวทางการทําเกษตรที่ใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบเกษตรแบบอื่นๆ
อย่างค่อนข้างชัดเจน โดยใช้พื้นที่เพียงประมาณ 1 ไร่เท่านั้น
4) บ้านมณีพฤกษ์และบ้านสันเจริญเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่อยู่ในระดับสูงกว่าน้ําทะเลมาก (พื้นที่บ้าน
มณีพฤกษ์อยู่สูงกว่าระดับน้ําทะเล 1,200-1,400 เมตร บ้านสันเจริญอยู่สูงกว่าระดับน้ําทะเล
800-1,000 เมตร) และมีความเหมาะสมกับการปลูกกาแฟอาราบีกา โดยบ้านสันเจริญมีการปลูก
กาแฟ (15 ปี) มานานกว่าบ้านมณีพฤกษ์มาก (5 ปี) และให้ความสําคัญกับอาชีพการปลูกกาแฟ
สูงกว่าบ้านมณีพฤกษ์มากเช่นกัน ซึ่งสังเกตได้จากการที่บ้านสันเจริญมีความหลากหลายในการใช้
พื้นที่น้อยกว่าบ้านมณีพฤกษ์
5.2 ลักษณะการเกษตรในแต่ละพื้นที่และผลต่อความยั่งยืน
จากความแตกต่างของลักษณะพื้นฐานของเกษตรกรและพื้นที่ซึ่งนําไปสู่ความแตกต่างของลักษณะ
การเกษตรและพืชที่เกษตรกรเลือกปลูก เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการเกษตรและพืชที่เกษตรกรเลือกปลูกใน
พื้นที่ที่ทําการศึกษา สามารถแบ่งลักษณะการเกษตรที่น่าสนใจ 4 ระบบหลัก ได้แก่
1) การปลูกพืชยืนต้นเชิงเดี่ยวเป็นหลัก ได้แก่ การปลูกมะม่วงในบ้านสบเป็ดและบ้านป่ากลาง แม้ว่า
จะมีการทําอาชีพอื่นบ้าง เช่น รับจ้าง แต่รายได้ทางการเกษตรของชาวบ้านมาจากการปลูก
มะม่วงเป็นหลัก
2) การปลูกพืชแบบพึ่งพิงกับป่าหรือวนเกษตร ได้แก่ การปลูกกาแฟที่บ้านมณีพฤกษ์และบ้านสัน
เจริญ
3) การเกษตรที่เน้นการปลูกพืชผักในโรงเรือนเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การปลูกพริกหวานที่บ้านถ้ํา
เวียงแก
4) การปลูกพืชผักแบบผสมผสานทั้งการปลูกพืชในโรงเรือนและการปลูกพืชอื่นๆ ได้แก่ การปลูกพืช
โรงเรือนที่บ้านแม่จริมและบ้านโป่งคํา
5-8