Page 125 -
P. 125
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ความสุขในด้านการเงิน
ในภาพรวม เกษตรกรมีระดับความสุขในด้านการเงินในระดับปานกลาง (ระดับ 5-6 จาก
10 ระดับ) ยกเว้นเกษตรกรที่ทําเมล็ดพันธุ์ในบ้านแม่จริมที่มีระดับความสุขด้านการเงินต่ํากว่า
พื้นที่อื่นๆ ค่อนข้างมาก (3.36 จากระดับเต็ม 10)
2) ประเด็นทางสังคม
- การพึ่งพิงเงินทุนภายนอก (dependency rate)
การผลิตเมล็ดพันธุ์แบบพันธะสัญญามีสัดส่วนการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนภายนอกสูงกว่าพืช
อื่นๆ มาก เนื่องจากเกษตรกรจะต้องเอาปัจจัยการผลิตจากบริษัทมาก่อนแล้วจึงหักเงินคืนตอน
ขายผลผลิต (กู้ปัจจัยการผลิต) ทําให้เกษตรกรมีสัดส่วนการกู้ต่อต้นทุนการผลิตสูงถึงกว่าร้อยละ
80 ในขณะที่การปลูกลักษณะอื่นๆ มีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 20
- หนี้สิน
เกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์และพริกหวานในโรงเรือนมีหนี้ในการปลูกพืชหลักสูงกว่าพืช
อื่นค่อนข้างมาก (มากกว่า 20,000 บาท) โดยเฉพาะการปลูกเมล็ดพันธุ์ที่มีหนี้จากการปลูกพืช
หลักสูงถึง 28,000 บาทต่อปี ในขณะที่การปลูกมะม่วงเชิงเดี่ยวมีหนี้ปานกลาง และการปลูก
กาแฟในระบบวนเกษตรและพืชโรงเรือนแบบผสมผสานมีหนี้ในการปลูกพืชหลักที่น้อยกว่าพืช
124
อื่น
เกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ (แม่จริม) มีสัดส่วนหนี้หมุนเวียนระยะสั้นต่อรายได้สูง
เนื่องจากมีปริมาณหนี้ที่ใช้เพาะปลูกในแต่ละปีมาก ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกผักแบบผสมผสาน
(แม่จริมและโป่งคํา) ก็มีสัดส่วนหนี้หมุนเวียนต่อรายได้สูง เนื่องจากมีหนี้หมุนเวียนมากในขณะที่
รายได้น้อยและบางส่วนเป็นหนี้จากดอกเบี้ยเงินกู้เดิมที่ยังมีค้างอยู่ แม้ว่าจะมีหนี้ในการปลูกพืช
หลักต่ําในขณะที่เกษตรกรในแต่ละระบบมีสัดส่วนหนี้นอกระบบอยู่ระหว่างร้อยละ 2-6 ซึ่งไม่
ต่างกันมากนัก
- ความมั่นคงทางอาหาร
เกษตรกรในทุกหมู่บ้านมีสัดส่วนรายจ่ายข้าวต่อรายได้ค่อนข้างต่ํา โดยเกษตรกรที่ปลูก
มะม่วงในลักษณะพืชเชิงเดี่ยวมีสัดส่วนรายจ่ายข้าวต่อรายได้สูงที่สุด (0.06) เนื่องจากในพื้นที่บ้าน
ป่ากลาง เกษตรกรใช้พื้นที่และแรงงานส่วนใหญ่ไปกับการปลูกมะม่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจส่งออก และหยุดการปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ทําให้
พึ่งพิงการซื้อข้าวเพื่อบริโภคเป็นส่วนใหญ่
123 การทําพันธะสัญญาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนทางราคา แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการ
กระจายรายได้ของเกษตรกรในแต่ละช่วงเวลา
124 การปลูกพืชโรงเรือนต้องการเงินลงทุนมาก แต่เกษตรกรที่ปลูกพืชโรงเรือนส่วนใหญ่ในการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจาก
โครงการขยายผลฯ จึงทําให้ไม่ต้องเป็นหนี้ในการกู้เงินมาลงทุน
5-12