Page 128 -
P. 128
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า การปลูกพืชยืนต้นมีรายได้สุทธิต่อไร่ต่ํากว่าพืชอื่นทั้งการปลูกเมล็ดพันธุ์ (ต่ํา
กว่าประมาณไร่ละ 46,000 บาท/ไร่) และการปลูกพืชโรงเรือน (ต่ํากว่าประมาณ 16,000 บาท/ไร่)แต่มีรายได้
รวมสูงกว่าการปลูกพืชในโรงเรือน แต่ไม่แตกต่างจากการปลูกเมล็ดพันธุ์อย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้ เกษตรกร
ที่ปลูกพืชยืนต้นมีการกระจายของกระแสรายได้ที่ดีกว่าการปลูกเมล็ดพันธุ์แต่ต่ํากว่าการปลูกพืชโรงเรือน และ
มีความสุขด้านการเงินที่สูงกว่าการปลูกพืชอื่นอย่างมีนัยสําคัญ
การปลูกพืชในโรงเรือนมีรายได้สุทธิต่อไร่ต่ํากว่าการปลูกเมล็ดพันธุ์แต่สูงกว่าการปลูกพืชยืนต้น แต่มี
รายได้รวมต่ํากว่าพืชอื่นๆ อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่ปลูกพืชในโรงเรือนมีการกระจายของกระแสรายได้ที่ดีที่สุด
เมื่อเทียบกับทั้งการปลูกพืชยืนต้นและเมล็ดพันธุ์
นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรอื่นๆ มีความน่าสนใจ เช่น เกษตรกรที่มีการศึกษาที่สูงขึ้นทําให้มีรายได้สุทธิ
ต่อไร่สูงขึ้น เกษตรกรที่มีการใช้ที่ดินหลากหลายมีแนวโน้มรายได้รวมสูงขึ้น การช่วยเหลือด้านองค์ความรู้มีผล
ต่อรายได้สุทธิต่อไร่ ส่วนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรมีผลต่อทั้งรายได้สุทธิต่อไร่และรายได้รวม และที่น่าสนใจ
คือ การตกลงราคาล่วงหน้ามีผลทําให้รายได้สุทธิต่อไร่ต่ําลง ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจากกรณีที่มีการตกลงราคา
ล่วงหน้า เกษตรกรยินดีที่จะยอมขายผลผลิตในราคาถูกลงเล็กน้อยแต่แลกกับความแน่นอนที่เพิ่มขึ้น
ตารางที่ 5.4 สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเกษตรและตัวแปรทางเศรษฐกิจ
NET_INC TOTAL_INC SID HAP_FINANCE
AGE -0.01 *** 0.04 *
GENERATION
EDUCATION 1,098.97 *** 0.11 **
AGRI_LABOR
AREA 2,268.87 *** -0.04 ***
HIGHLAND 3.68 ***
LAND_RIGHT
IRRIGATION
YEAR 2,533.43 *
AREA_MAJOR 5,976.91 ***
LAND_DIVERSE -73,226.32 *
TREE -45,997.65 *** 0.13 * 1.19 **
GS -29,515.43 *** -85,609.05 *** 0.25 ***
HIGH_END
QUANTITY_AGREE -42,107.11 *
PRICE_AGREE -15,438.98 *** -73,413.49 ***
KNOWLEDGE 6,701.66 * 1.30 ***
MARKET
INVOLVEMENT 11,640.83 *** 69,008.68 ***
C 51,517.11 *** 143,797.70 *** 0.73 *** -0.61
Observations 146 146 146 146
5-15