Page 133 -
P. 133

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       เนื่องจากพืชในพื้นที่ศึกษามีลักษณะการดูแลและเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพืชยืน
                                 126
               ต้นและพืชหมุนเวียน  โดยในส่วนของพืชยืนต้น (มะม่วงและกาแฟ) ผู้วิจัยได้แบ่งต้นทุนทั้งหมดออกเป็น 3
               ส่วนได้แก่ 1) ต้นทุนตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวในปีแรก ซึ่งหมายถึงค่าเมล็ดพันธุ์ ยาต่างๆ และต้นทุนแรงงานใน

               การดูแลรักษาในช่วงที่ยังไม่มีการเก็บเกี่ยว 2) ต้นทุนการดูแลรวมเก็บเกี่ยวแต่ละปีหลังจากนั้น ซึ่งได้แก่ ต้นทุน

               ค่าปุ๋ย ยาต่างๆ รวมต้นทุนแรงงานที่ใช้ในปีที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และ 3) ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเครื่องมือ
               การเกษตร ในขณะที่ต้นทุนของพืชหมุนเวียนจะแบ่งออกเป็น 1) ต้นทุนในการดําเนินงานในแต่ละรอบการผลิต

               ซึ่งรวมทั้งต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ยา และแรงงานที่ใช้ในการดูแล และ 2) ต้นทุนคงที่
                       สําหรับพืชยืนต้น ได้แก่ มะม่วงและกาแฟ ผู้วิจัยแบ่งต้นทุนตามพื้นที่และลักษณะกลุ่มของเกษตรกร

               โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

                      1)  ต้นทุนมะม่วงจากกลุ่มวิสาหกิจ บ้านป่ากลาง
                      2)  ต้นทุนมะม่วงนอกกลุ่มวิสาหกิจ บ้านป่ากลาง

                      3)  ต้นทุนมะม่วงบ้านสบเป็ด
                      4)  ต้นทุนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์

                      5)  ต้นทุนกาแฟบ้านสันเจริญ

                      การเปรียบเทียบต้นทุนในการปลูกมะม่วงของเกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มแสดงให้เห็นว่า กลุ่มวิสาหกิจบ้าน
               ป่ากลางมีต้นทุนในการปลูกมะม่วงที่สูงที่สุด เนื่องจากเป็นการผลิตที่เน้นคุณภาพ เกษตรกรจะต้องเลือกใช้ปุ๋ย

               หรือสารปราบศัตรูพืชตามที่มาตรฐานกําหนด มีการดูแลก่อนการเก็บเกี่ยวที่พิถีพิถัน การใช้ถุงคาร์บอนแทน

               หนังสือพิมพ์ในการห่อผลมะม่วง และเน้นการดูแลตกแต่งกิ่ง ทําให้ต้นทุนทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) ต้นทุนรวมตั้งแต่
               ปลูกถึงเก็บเกี่ยวครั้งแรก 2) ต้นทุนการดูแลต่อปี และ 3) ต้นทุนคงที่ จะสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงที่ไม่ได้

               อยู่ในกลุ่ม และเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในบ้านสบเป็ด โดยเกษตรกรที่อยู่ในบ้านสบเป็ดมีต้นทุนในการปลูก
               มะม่วงต่ําที่สุด เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่พึ่งพาน้ําจากประปาภูเขาและไม่ต้องลงทุนในเครื่องสูบน้ํา และใน

               พื้นที่นี้ยังไม่ได้ใช้ถุงคาร์บอนในการห่อมะม่วงด้วย

                      สําหรับกาแฟพบว่า ต้นทุนดูแลตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวครั้งแรกและต้นทุนดูแลต่อปีของการปลูกกาแฟ
               ไม่ต่างจากการปลูกมะม่วงมากนัก แต่มีต้นทุนคงที่ที่ต่ํากว่าการปลูกมะม่วงอย่างชัดเจน เนื่องจากการปลูก

               กาแฟในลักษณะวนเกษตรทําให้ไม่ต้องมีการลงทุนในเครื่องมือการเกษตรเช่น ระบบน้ํา มากนัก กาแฟจะได้รับ
               ความชุ่มชื้นจากป่าและใช้น้ําฝนเป็นหลัก ในขณะที่ต้นทุนการปลูกกาแฟของเกษตรกรในหมู่บ้านสันเจริญจะต่ํา

               กว่าหมู่บ้านมณีพฤกษ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากเกษตรกรในบ้านสันเจริญใช้การเพาะต้นกล้าจากเมล็ดและมี

               ต้นทุนค่าตัดหญ้าที่น้อยกว่ามาก










               126 ดูรายละเอียดต้นทุนพืชแต่ละชนิดในภาคผนวก 6

                                                           5-20
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138