Page 127 -
P. 127

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                 การปลูกเมล็ดพันธุ์มีการใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืช (ทั้งยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า) ใน

                          ปริมาณที่สูงมาก ในขณะที่การปลูกพริกหวานในโรงเรือนมีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงและปุ๋ย
                          อินทรีย์สูง ในขณะที่การปลูกพืชโรงเรือนแบบผสมผสานและมะม่วงมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระดับสูง

                       นอกจากการเปรียบเทียบเชิงสถิติแล้ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบเครื่องมือทางเศรษฐมิติเพื่อหา
                                                                              125
               ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความยั่งยืนต่างๆ ที่น่าสนใจ กับตัวแปรต้นต่างๆ  สําหรับการศึกษาเปรียบเทียบ
               ลักษณะการเกษตรที่มีผลต่อความยั่งยืนนั้น ผู้วิจัยเพิ่มตัวแปรหุ่น (dummy  variable)  ที่แสดงถึงการปลูกไม้

               ยืนต้น (TREE) โดย เท่ากับ 1 เมื่อเป็นการปลูกไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก และเท่ากับ 0 เมื่อไม่ใช่ และตัวแปรหุ่นที่
               แสดงการปลูกพืชโรงเรือน (GS) โดยเท่ากับ 1 เมื่อเป็นการปลูกพืชในโรงเรือน และเท่ากับ 0 เมื่อไม่ใช่ และ

               วิเคราะห์ว่าตัวแปร TREE และ GS มีผลต่อตัวแปรความยั่งยืนต่างๆ อย่างไร (จากสมการที่ประมาณนี้ ลักษณะ

               เกษตรที่ใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบคือพืชหลักที่ไม่เป็นไม้ยืนต้นและไม่ได้ปลูกในโรงเรือน ซึ่งได้แก่การปลูก
               เมล็ดพันธุ์)












































               125
                 ในการประมาณสมการสหสัมพันธ์แต่ละสมการ ผู้วิจัยหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)  ระหว่างตัวแปรต้นทั้งหมด
               และตัดบางตัวแปรที่อาจจะมีปัญหา Multicollinearity  ออก แล้วจึงประมาณสมการกับตัวแปรทั้งหมดที่เหลืออยู่ โดยแต่ละ
               สมการได้มีการทดสอบปัญหา Heteroskedasticity ด้วย White Heteroskedasticity Test และในสมการที่มีปัญหาจะถูก
               แก้ด้วยวิธี White’s  Heteroskedasticity  consistent standard error and covariance  หลังจากนั้นจะมีการทดสอบ

               ปัญหา Endogeniety  ด้วย Durbin-Wu-Hausman  test  และสมการที่มีปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขโดยการใช้ Instrument
               variable (IV) และการประมาณสมการโดยวิธี 2-Stage Least Square (2SLS)

                                                           5-14
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132