Page 114 -
P. 114
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
การเปรียบเทียบพืชและลักษณะการเกษตร
จากเนื้อหาในบทที่ 4 ที่แสดงถึงลักษณะพื้นที่และความแตกต่างของระบบเกษตรและรูปแบบธุรกิจ
การเกษตรในแต่ละพื้นที่และปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ภายใต้ธุรกิจการเกษตรแบบดั้งเดิม พบว่าปัญหาหลักที่
เกษตรกรในพื้นที่สูงประสบคือปัญหาการขาดอํานาจต่อรอง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยทางกายภาพ
ปัจจัยทางสถาบัน และปัจจัยของเกษตรกรเอง การขาดอํานาจต่อรองในการขายผลผลิตนําไปสู่ปัญหาต่างๆ ซึ่ง
ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามมา
จากปัญหาของธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีต่อเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่สูง ได้มีความพยายามในการแก้ไข
ปัญหาในแต่ละประเด็นในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป เช่น ในส่วนของข้อจํากัดเชิงพื้นที่ที่เกิดจากการขาดแคลน
น้ํา เกษตรในหลายพื้นที่ปลูกพืชที่มีระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวเพียงไม่กี่เดือน และใช้วิธีการปลูกพืชผสมผสาน
เช่น ในพื้นที่ภายใต้การช่วยเหลือของโครงการขยายผลฯ เกษตรกรใช้ช่วงฤดูแล้งเพื่อการพักดินและรอปลูก
ในช่วงฤดูฝน และปลูกพืชหลายชนิดโดยเลือกพืชที่ต้องการน้ํามากสําหรับปลูกในฤดูฝน สําหรับพืชยืนต้น เช่น
มะม่วงในบางพื้นที่จะใช้ประปาภูเขา บางพื้นที่เมื่อน้ําจากอ่างเก็บน้ําไม่เพียงพอจะใช้การซื้อน้ําแทน ในพื้นที่ที่
มีความสูงจากระดับน้ําทะเลมากพอ สามารถเลือกปลูกกาแฟที่สามารถปลูกในลักษณะวนเกษตรได้ เกษตรกร
อาศัยร่มเงาต้นไม้ใหญ่และความชุ่มชื้นจากป่าและน้ําฝนเป็นหลัก อย่างไรก็ดี โดยมากเกษตรกรจะแก้ปัญหา
การขาดแคลนน้ําด้วยการเลือกรูปแบบการเกษตรที่เหมาะพื้นที่ตน และยอมรับข้อจํากัดในการเลือกชนิดพืช
และปลูกได้ในบางฤดูกาลเท่านั้น
ทั้งนี้ ปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทั้งในแง่ของลักษณะทางกายภาพและลักษณะของเกษตรกร
เองจะมีส่วนสําคัญในการกําหนดลักษณะการเกษตรและชนิดพืชที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ ลักษณะการเกษตรที่พบ
ในการศึกษาวิจัยฉบับนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น การปลูกพืชยืนต้นแบบเชิงเดี่ยว (มะม่วง) การปลูกพืชยืน
ต้นแบบวนเกษตร (กาแฟ) การปลูกพืชผสมผสานทั้งในและนอกโรงเรือน การปลูกพืชในโรงเรือนเป็นหลัก และ
การปลูกเมล็ดพันธุ์ โดยระบบเกษตรและชนิดพืชที่ปลูกที่แตกต่างกันจะส่งผลกระทบต่อตัวแปรความยั่งยืน
แตกต่างกันไปด้วย
เนื้อหาในบทที่ 5 นี้อธิบายตัวแปรต่างๆ ที่รวบรวมจากการลงพื้นที่ และแสดงข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่
รวบรวมได้ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีส่วนในการกําหนดการเลือกลักษณะทางการเกษตรของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่
และผลกระทบต่อตัวแปรความยั่งยืนของแต่ละลักษณะเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้น
จากการเลือกปลูกพืชและทําการเกษตรในลักษณะต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาระและข้อจํากัดของเกษตรกร
ในการเลือกปลูกพืชชนิดต่างๆ
5-1