Page 109 -
P. 109
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สามารถหาสินค้ามาทดแทนได้ง่ายเนื่องจากเป็นผลผลิตทั่วไป มีจํานวนพ่อค้าเข้ามารับซื้อไม่มากนักเนื่องจากพื้นที่
ห่างไกลมีต้นทุนค่าขนส่งสูง ผลผลิตมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อต่อกันหลายช่วง และราคาผลผลิตมีความผันผวน
ค่อนข้างมากโดยผลผลิตบางชนิดราคาเปลี่ยนแปลงเป็นรายวัน (คอลัมน์ที่ 2 ในรูปที่ 4.4)
จากลักษณะพืชที่เกษตรกรเลือกปลูกและลักษณะตลาดและพ่อค้าที่มารับซื้อดังกล่าว ทําให้พฤติกรรมของ
เกษตรกรและพ่อค้ามีลักษณะที่ทําให้เกษตรกรมีอํานาจต่อรองต่ํามาก โดยพบว่าในช่วงฤดูกาลขายผลผลิต
เกษตรกรจํานวนมากมักจะไม่รีบขายผลผลิตของตนเอง โดยหวังว่าราคาของผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในภายหลัง (แม้ว่า
จากประสบการณ์จะพบว่าราคามักจะลดลง แต่ในแต่ละปี เกษตรกรก็มักจะรอดูและหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก) ทํา
ให้ในช่วงปลายฤดูกาลเกษตรกรมักจะต้องแย่งกันขายผลผลิตและทําให้ราคาผลผลิตตกลงอีก ซึ่งพฤติกรรมการรอ
ราคาและการแย่งกันขายผลผลิตนี้มีส่วนสําคัญที่ทําให้การรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ด้วยกันเองไม่ประสบ
ความสําเร็จ ขาดช่องทางในการสร้างและแบ่งปันองค์ความรู้ นอกจากนี้ เกษตรกรมักจะมีความต้องการที่จะขาย
ผลผลิตของตนเองให้ได้หมด เกษตรกรส่วนใหญ่จึงยอมที่จะขายผลผลิตแบบคละคุณภาพในราคาที่ต่ํากว่าการขาย
แบบแบ่งคุณภาพ เนื่องจากเกษตรกรมักจะพบปัญหาเมื่อขายผลผลิตคุณภาพดีในราคาที่สูงกว่าไปแล้วจะไม่
สามารถขายและต้องทิ้งผลผลิตคุณภาพต่ํากว่าไป ในขณะเดียวกัน พ่อค้ารับซื้อก็พยายามสร้างอํานาจต่อรองให้กับ
ตนเองผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การรอซื้อผลผลิตในช่วงที่สามารถกดราคาเกษตรกรได้ หรือการร่วมกันกําหนดราคา
ระหว่างพ่อค้าเจ้าต่างๆ ที่เข้ามารับซื้อในพื้นที่(คอลัมน์กลางในรูปที่ 4.4)
ห่วงโซ่ปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่สูงที่อยู่ภายใต้รูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมมีอํานาจต่อรองในการขาย
สินค้าต่ําแสดงให้เห็นได้ในรูปที่ 4.4
4-38