Page 108 -
P. 108

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                      รูปแบบธุรกิจดั้งเดิมในที่นี้หมายถึง ระบบที่เกษตรกรแต่ละรายรายแยกกันขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มา

               รับซื้อหรือนําไปขายให้พ่อค้าที่ตลาดรับซื้อ โดยเกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มกัน ดังเช่น กรณีของเกษตรกรผู้ปลูก
               มะม่วงในพื้นที่บ้านป่ากลางที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในบ้านสบเป็ดปัญหาหลักของ

               เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่สูงภายใต้รูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมนี้คือการที่เกษตรกรมีอํานาจในการต่อรองในการขาย
               ผลผลิตต่ํา ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน เช่น ทําให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาต่ําและมีรายได้น้อย

               เกษตรกรเป็นผู้รับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและปริมาณผลผลิตทําให้ขาดความมั่นคงในการทํา
               การเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรไม่ค่อยให้ความสําคัญกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ใช้สารเคมีจํานวนมากและ

               บุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อให้สามารถผลิตผลผลิตได้มากพอและกระจายความเสี่ยงกรณีผลผลิตเสียหายซึ่งอาจเกิดจาก

               ภัยธรรมชาติและปัจจัยอื่นๆ ด้วยเหตุผลนี้ทําให้เกษตรกรยังไม่สามารถหันออกจากการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวเช่น
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเน้นการปลูกให้ได้ปริมาณมากแต่ต้องการการดูแลน้อย ต้นทุนการจัดการขายผลผลิตต่ําเมื่อ

               เทียบกับการปลูกพืชหลายชนิดซึ่งต้องติดต่อพ่อค้าหลายราย และมีตลาดแน่นอน(ดูคอลัมน์ขวาสุดในรูปที่ 4.4
               ประกอบ)

                      จากการศึกษาพบว่า ปัญหาของรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมมีจุดเริ่มต้นจากข้อจํากัดสําคัญที่เกษตรกรใน
               พื้นที่สูงเผชิญซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็น (คอลัมน์ซ้ายสุดในรูป 4.4) ได้แก่

                      1)  ข้อจํากัดเชิงพื้นที่ ได้แก่ การที่พื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชัน ไม่มีระบบชลประทานที่ทั่วถึง
                         การเกษตรในพื้นที่สูงจึงพึ่งพิงน้ําฝนเป็นหลัก ทําให้สามารถเลือกปลูกพืชได้บางชนิดและในบาง

                         ฤดูกาลเท่านั้น นอกจากนี้พื้นที่สูงเกือบทั้งหมดอยู่ห่างไกลจากตลาด มีต้นทุนในการขนส่งสูง ทําให้มี
                         พ่อค้าเข้ามารับซื้อสินค้าไม่มาก

                      2)  ข้อจํากัดด้านเกษตรกรเอง ได้แก่ การที่เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านทางเลือกพืชที่เหมาะสม

                         ขาดเงินทุนในการแปรรูปหรือรักษาผลผลิต ขาดความรู้ในการบริหารจัดการผลผลิตและการรักษา
                         คุณภาพ และขาดข้อมูลด้านการตลาดของผลผลิต เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการใน

                         ตลาดปลายทาง
                      3)  ข้อจํากัดเชิงสถาบัน ได้แก่ การที่เกษตรกรในพื้นที่สูงเกือบทั้งหมดไม่มีสิทธิการถือครองที่ดินที่มั่นคง

                         และชัดเจน พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางทางนิเวศ
                         ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กฎหมายป่าไม้ ทําให้เกิดความขัดแย้งและความไม่มั่นคงในการทํามาหากินของ

                         เกษตรกร

                      ข้อจํากัดทั้ง 3 ด้านนี้ เป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อลักษณะพืชที่เกษตรกรเลือกปลูก/ลักษณะการผลิตและ
               ลักษณะตลาดและพ่อค้า โดยพบว่าในพื้นที่สูงส่วนใหญ่เกษตรกรเลือกปลูกพืชทั่วไปที่ไม่ได้มีจุดเด่น ผลผลิตในพื้นที่
               คล้ายคลึงกันเนื่องจากปลูกตามเพื่อนบ้าน ผลผลิตเก็บรักษาได้ไม่นาน และมักจะปลูกพืชไร่ที่ต้องการการดูแลน้อย

               เนื่องจากเกษตรกรต้องการปลูกในพื้นที่กว้างเพื่อให้ได้ผลผลิตจํานวนมาก ในส่วนของตลาดและพ่อค้าพบว่า พ่อค้า



                                                           4-37
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113