Page 107 -
P. 107
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2 ปัญหาภายใต้รูปแบบธุรกิจดั้งเดิมของการเกษตรบนที่สูง
ปัญหาราคาสินค้าเกษตรกรตกต่ําเป็นปัญหาที่เกษตรกรเผชิญเป็นประจําเกือบทุกปี เพียงในช่วง 6 ปีที่
ผ่านมา มีเหตุการณ์ชุมนุมเกิดขึ้นหลายครั้งในเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ตาก ลําพูน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการ
แก้ปัญหาราคาตกต่ํา เช่น ในปี 2553 เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่ง จ.เชียงใหม่ เผชิญปัญหาบริษัทเอกชนที่รับซื้อเป็น
ประจําจํากัดจํานวนรับซื้อและให้ราคาต่ํา ปี 2554 เกษตรกรผู้ปลูกกะหล่ําปลี จ.น่าน เรียกร้องให้หน่วยราชการใน
จังหวัดแก้ปัญหาราคาตกต่ํา ปี 2556 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดทั้งในเชียงรายและเชียงใหม่ ชุมนุมประท้วงทวงการ
ช่วยเหลือจากรัฐบาลเรื่องราคาผลผลิตตกต่ํา ปี 2557 เกษตรกรผู้ปลูก กระเทียม หอมแดง ลําไย จ.เชียงใหม่และ
ลําพูนประท้วงขอรัฐบาลช่วยเหลือปัญหาราคาสินค้าตกต่ํา ปี 2558 เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่ง จ.ตาก ขอให้สํานักงาน
เกษตรช่วยเจรจาต่อรองกับบริษัทเอกชนที่เข้ามาทําเกษตรพันธะสัญญาปลูกมันฝรั่งที่ลด/หยุดการรับซื้อโดยไม่ได้มี
การตกลงกันล่วงหน้าทําให้เกิดปัญหาสินค้าตกค้างเน่าเสีย สิ่งที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับผลการสํารวจความเห็น
เกษตรกรบนพื้นที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่
โจ้ ที่สํารวจปัญหาต่างๆ ที่เกษตรกรในพื้นที่สูงต้องเผชิญในการทําเกษตรกรรม และพบว่าที่ผ่านมาเกษตรกรบน
พื้นที่สูงประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง (ร้อยละ 48.8) แต่ราคาผลผลิตต่ํา (ร้อยละ38.10) มากที่สุดสองอันดับแรก
และมีปัญหาคุณภาพผลผลิตและขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตในสัดส่วนรองลงมา นอกจากนี้
118
ปัญหาที่เกิดขึ้นควบคู่ไปพร้อมกับปัญหาราคาตกต่ํา คือ ปัญหาราคาสินค้าเกษตรในตลาดทั่วไปผันผวนมาก และ
เกษตรกรเป็นผู้รับความเสี่ยงจากภาวะราคาผันผวนนี้ ความผันผวนของราคาสินค้าคุณภาพทั่วไปที่ตลาดปลายทาง
119
ส่งผลโดยตรงต่อราคารับซื้อผลผลิต ณ ไร่นา ภาวะความผันผวนทางราคานี้จะน้อยลงในกรณีที่เกษตรกรขาย
120
สินค้าคุณภาพสูงให้ตลาดส่งออก หรือผลผลิตทางเกษตรมีลักษณะเด่นเฉพาะ อย่างไรก็ดี แม้ในกรณีที่เกษตรกร
สามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าปลายทางด้วยการผลิตสินค้าคุณภาพสูงขายให้ตลาดส่งออก แต่ก็ยังประสบปัญหา
เกษตรกรไม่ได้ส่วนแบ่งที่มากพอจากมูลค่าเพิ่มนั้น ดังกรณีของมะม่วงน้ําดอกไม้สดที่รับซื้อจากเกษตรกรในราคา
65 บาทต่อ กก. แต่สามารถขายในราคาส่งออก (FOB) ที่ราคา 140 บาทต่อ กก. เป็นต้น
การศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงจึงต้องเริ่มจากการทําความเข้าใจกับสาเหตุหรือข้อจํากัด
ของการเกษตรบนพื้นที่สูงที่ส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ําเป็นประจําและอ่อนไหวต่อ
การดําเนินนโยบายการเกษตรต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนมาก ข้อสังเกตเบื้องต้นที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบ
รูปแบบเกษตรกรรมและรูปแบบธุรกิจระหว่างพื้นที่ คือ เกษตรกรจํานวนไม่น้อยยังติดอยู่ในกับดักของรูปแบบ
ธุรกิจแบบดั้งเดิม ถึงแม้จะมีเกษตรกรจํานวนหนึ่งที่สามารถหารูปแบบธุรกิจที่สร้างโอกาสให้ตนหลุดจากกับดักนี้ได้
แต่ด้วยข้อจํากัดจํานวนมากของการเกษตรบนที่สูงทําให้มีเกษตรกรจํานวนน้อยที่สามารถหลุดจากกับดักนี้ได้จริง
118
ดูตัวอย่างความผันผวนทางราคาของมะม่วงเขียวเสวยมะม่วงน้ําดอกไม้ คะน้าผักกวางตุ้ง ณ ตลาดสี่มุมเมืองในภาคผนวก 2
119
ดูตัวอย่างความผันผวนของราคามะม่วงเขียวเสวย ณ ไร่นาเปรียบเทียบกับมะม่วงเขียวเสวย ณ ตลาดสี่มุมเมืองในภาคผนวก 3
120
ดูตัวอย่างราคามะม่วงน้ําดอกไม้สดส่งออก และราคาพริกหวานในภาคผนวก 4
4-36