Page 112 -
P. 112

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               4.3 สรุป

                       จากตารางเปรียบเทียบ 4.1  และภาพปัญหากับดักรูปแบบธุรกิจดั้งเดิม แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
               ถึงแม้จะอยู่ในระบบเกษตรกรรมเดียวกัน แต่การที่เกษตรกรตัดสินใจเข้าไปอยู่ในรูปแบบธุรกิจที่ต่างกันทําให้

               เกษตรกรมีพฤติกรรมการกระจายความเสี่ยง พฤติกรรมการปลูก แนวทางตอบสนองต่อตลาด รวมถึงการ

               แก้ปัญหาที่เกิดจากข้อบกพร่องของตลาดที่แตกต่างกันไป พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลสําคัญต่อความยั่งยืนของ
               สังคมเกษตรบนที่สูงในระยะยาว กับดักธุรกิจการซื้อขายแบบดั้งเดิมที่เกษตรกรในหลายพื้นที่ยังติดอยู่ไม่ได้

               สร้างกลไกที่เชื่อมโยงไปสู่การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรหรือลดพื้นที่การทําเกษตรเชิงเดี่ยว
               ความพยายามของเกษตรกรในการเลือกหรือพัฒนากลไกมาช่วยแก้ข้อจํากัดของการเกษตรที่สูงเป็นตัวผลักดัน

               ให้เกิดพลวัตการปรับตัวของรูปแบบธุรกิจและชี้ให้เห็นว่ามีช่องที่เปิดให้กลุ่มธุรกิจหรือองค์กรจากภายนอกเข้า

               ไปมีบทบาทเชื่อมโยงผลผลิตจากเกษตรกรสู่ตลาดปลายทาง
                       ประเด็นสําคัญอีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากความพยายามของเกษตรกรในการพัฒนากลไกเพื่อ

               ลดข้อจํากัดของการเกษตรที่สูง คือ การสร้างระบบกลุ่ม การรวมกลุ่มในพื้นที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่
               หลากหลายและต่างกันไป บางพื้นที่รวมกลุ่มกันพัฒนาคุณภาพ ขายสินค้าในตลาดบน (วิสาหกิจส่งออกมะม่วง

               บ้านป่ากลาง)  บางพื้นที่รวมกลุ่มเพื่อทําการแปรรูปในพื้นที่ต่อ (วิสาหกิจแปรรูปกาแฟบ้านสันเจริญ) บางพื้นที่

               รวมกลุ่มเพื่อขายและซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกัน (กลุ่มผักโรงเรือนบ้านโป่งคํา บ้านแม่จริม บ้านถ้ําเวียงแก)
               ประเด็นสําคัญซึ่งถือเป็นจุดร่วมของทุกพื้นที่ คือ เมื่อเกษตรกรรวมกลุ่มได้สินค้าในปริมาณมากพอ ทําให้

               เกษตรกรสามารถเปิดตลาดเพิ่มขึ้น มีพ่อค้าให้ความสนใจมากขึ้น ยอมรับสินค้าซื้อทั้งหมด ความเข้มแข็งของ

               กลุ่มเป็นปัจจัยที่ทวีความสําคัญขึ้นเรื่อยๆ ตามความยากของวัตถุประสงค์ เช่น การรวมกลุ่มเพื่อส่งสินค้าไป
               ตลาดบนที่ต้องอาศัยความสามารถในการควบคุมดูแลคุณภาพ การรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปหลายขั้นตอนซึ่งต้อง

               อาศัยความรู้ด้านการจัดการเป็นอย่างมาก
                       เกษตรกรมีรูปแบบการกระจายความเสี่ยงที่หลากหลาย หากรูปแบบธุรกิจที่เกษตรกรเกี่ยวข้องไม่

               สามารถลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาหรือความเสี่ยงของตลาดได้ เกษตรกรจะเน้นกระจายความ

               เสี่ยงด้วยการปลูกพืชหลายชนิดหรือประกอบอาชีพหลายอาชีพ หากรูปแบบธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงด้าน
               ราคาได้บ้าง เช่น สามารถเชื่อมเกษตรกรกับตลาดบนได้ เกษตรกรจะกระจายความเสี่ยงโดยการศึกษาความ

               ต้องการของตลาด ทิศทางของรสนิยม เช่น เกษตรกรยังปลูกมะม่วงเช่นเดิม แต่เพิ่มพันธุ์ที่ตลาดอื่นต้องการ
               บ้าง ซึ่งมะม่วงต่างพันธุ์ก็ยังต้องการการดูแลใกล้เคียงกันไม่ต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ แม้ในหลาย

               พื้นที่เกษตรกรจะทราบราคารับซื้อสินค้าล่วงหน้าจากผู้รับซื้อที่ติดต่อไว้ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่การรับทราบ

               ราคาในลักษณะนี้ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงทางราคาเนื่องจากการตกลงเกิดขึ้นไม่มีสัญญาเป็น
               ทางการรองรับ แม้จะเป็นรูปแบบเกษตรพันธะสัญญาก็ตาม ข้อมูลราคาล่วงหน้าอาจช่วยในการตัดสินใจได้ว่า

               ควรจะขายผลผลิตให้ใคร แต่ก็ไม่สามารถกําจัดความเสี่ยงทางราคาที่เกษตรกรเผชิญอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               ในกรณีที่สินค้าขาดจุดเด่นหรือยังไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดบน
                       ทั้งนี้ การช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกในการตัดห่วงโซ่พ่อค้าคนกลางและเชื่อมโยงเกษตรกรกับ

               ตลาดโดยตรง ดังในกรณีของบ้านถ้ําเวียงแก บ้านโป่งคําและบ้านแม่จริม ช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องตลาดให้


                                                           4-41
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117