Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                          บทที่ 2


                                     การพัฒนาองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า


                       บทนี้เปรียบเทียบการพัฒนาองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าทั้งแปดองค์กรเพื่อให้ภาพของการ
               พัฒนาองค์กรชุมชน เริ่มจากสภาพกายภาพของชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษา โครงสร้างการบริหารและจ านวนสมาชิกของแต่
               ละองค์กรชุมชน เพื่อให้ทราบการด าเนินงานที่แต่ละองค์กรท าอยู่ ตามมาด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกองค์กรชุมชน
               สภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนสมาชิก และ การเป็นสมาชิกองค์กรชุมชน เพื่อให้ทราบพัฒนาการขององค์กรชุมชนและ
               ความร่วมมือจากสมาชิกองค์กร รายละเอียดของแต่ละหัวข้อส าหรับแต่ละองค์กรชุมชนมีอยู่ในรายงานอีกสี่ฉบับ คือ

               ฉบับกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง ฉบับ
               สหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิล และฉบับสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง

               2.1  สภาพกายภาพของชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษา


                       ภาพที่ 2-1  แสดงที่ตั้งขององค์กรชุมชนทั้งแปดแห่งที่ศึกษา สภาพกายภาพของพื้นที่แต่ละองค์กรชุมชนที่
               ศึกษา มีดังต่อไปนี้

                       กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา  ตั้งอยู่ที่อ าเภอบางปะกงและมีสมาชิก

               บางส่วนอยู่ในอ าเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการเลี้ยงปลากะพงในบ่อดินเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ศึกษาอยู่ใน ต าบล
               หอมศีล ต าบลบางสมัคร และต าบลบางเกลือ ในอ าเภอบางปะกง เดิมเกษตรกรเลี้ยงปลากะพงในกระชัง แต่ภายหลังมี
               ปัญหาคุณภาพน ้า เนื่องจากในพื้นที่มีการท าอุตสาหกรรมและโรงผลิตกระแสไฟฟ้า มีโรงงานตั้งอยู่ใกล้แหล่งน ้า
               เกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชังได้ผลน้อยลง หันมาเลี้ยงในบ่อดิน มีพื้นที่เลี้ยงในต าบลหอมศีลมากที่สุด ปัจจุบันพื้นที่ที่ใช้

               ท าการเกษตรส่วนใหญ่ในสามต าบลนี้ใช้เลี้ยงสัตว์น ้าเป็นส าคัญ ส่วนมากเป็นการเลี้ยงปลากะพง มีเป็นส่วนน้อยที่ใช้ท า
               นาข้าว ปลูกไม้ยืนต้น และ ปลูกพืชผัก มีถนนเข้าถึงพื้นที่ได้สะดวก ซึ่งมีส่วนให้มีการพัฒนาพื้นที่ มีการตั้งบ้านเรือน
               ท าหมู่บ้านจัดสรร และ ท าโรงงาน มากขึ้น

                       กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง ตั้งอยู่ในต าบลท่าซุง อ าเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ผู้เลี้ยงสัตว์น ้า

               ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น ้า มีที่ท าการที่บ้านของประธานกลุ่มฯ ตั้งอยู่ในต าบลท่าซุง สมาชิกเข้ามาติดต่อได้สะดวก พื้นที่มี
               แม่น ้าเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นแนวยาวในพื้นที่ทางทิศตะวันออก และแม่น ้าสะแกกรังไหลผ่านกลางพื้นที่ต าบลท่าซุง
               แม่น ้าทั้งสองสายมาบรรจบกันที่สุดพื้นที่ของหมู่ 5  ต าบลท่าซุง มีอ าเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทอยู่ฝั่งตรงข้าม ซึ่งมี
               ตลาดมโนรมย์ที่กลุ่มเกษตรกรฯ เข้าไปเปิดแผงขายปลา เกษตรกรวางกระชังในบริเวณริมแม่น ้าใกล้บ้านเรือนของตน
               ดูแลได้สะดวก ทั้งแหล่งน ้าบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรสามารถหาพันธุ์ปลาจากธรรมชาติได้ นอกไปจากที่
               ซื้อจากผู้เพาะพันธุ์ปลา เกษตรกรเลี้ยงปลาแรด ซึ่งได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indicator, GI)

               เป็นปลาของพื้นที่ และได้รับการส่งเสริมให้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารหลายชนิด เป็นอาหารจานเด่นของพื้นที่ เป็นที่
               นิยมกันตามภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่รองรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปลาพื้นเมืองเช่นปลาสังกะวาดซึ่ง
               เกษตรกรรวบรวมพันธุ์ได้จากธรรมชาติ และเลี้ยงปลาน ้าจืดอื่นๆในกระชัง มีบางรายที่เลี้ยงปลาในบ่อดิน พื้นที่ริมน ้า
               ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าว มีท าสวนอยู่บ้าง คนในพื้นที่ท านาข้าวเป็นอาชีพหลัก และมีที่ท าสวน ท าประมง เลี้ยงสัตว์
               รวมทั้งสัตว์น ้า ค้าขาย รับจ้าง ตลอดจนรับราชการ เริ่มมีการพัฒนาพื้นที่รองรับการท่องเที่ยว สร้างที่พักและร้านอาหาร

               ริมน ้า มีถนนเข้าถึงพื้นที่
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52