Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.4.2 วิธีด าเนินการวิจัย
1) การเก็บข้อมูล หลังจากเลือกองค์กรชุมชนดังได้กล่าวมาในหัวข้อที่ผ่านมา คณะวิจัยลงพื้นที่ศึกษาเพื่อ
รวบรวมข้อมูลรวมสามครั้งในแต่ละพื้นที่
ครั้งแรกเป็นการส ารวจขั้นต้น เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดองค์กรชุมชน สภาวะเศรษฐกิจและสังคม และ
ลักษณะกายภาพของชุมชนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า ด าเนินการในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2557 รวบรวมข้อมูลจาก
การประเมินพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม โดยการสังเกตการณ์ในพื้นที่ และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้น าองค์กร/
ประธานคณะกรรมการด าเนินการขององค์กร กรรมการด าเนินการ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนต าบล เจ้าหน้าที่
ภาครัฐจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้น าเกษตรกร มีการจัดประชุม Focus group เพื่อหารือกับผู้ให้ข้อมูลหลัก
ครั้งที่สองเป็นการสัมภาษณ์เพื่อกรอกแบบสอบถาม หลังจากการส ารวจขั้นต้น คณะวิจัยออกแบบสอบถาม
เพื่อสัมภาษณ์สมาชิกองค์กรชุมชน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สมาชิกองค์กร ความคิดเห็นของสมาชิกองค์กรในการเข้ามา
มีส่วนร่วมกับองค์กรเกี่ยวกับความคาดหวังและความสามารถทั้งขององค์กร ผู้น า และ ตัวสมาชิกเอง การเพาะเลี้ยง
สัตว์น ้าทั้งรูปแบบ วิธีปฏิบัติ รวมทั้งต้นทุน-รายได้ การตลาด ตอดจน ปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกพบ
ในการส ารวจได้ก าหนดขนาดตัวอย่างไว้ 30 รายต่อองค์กรชุมชนหนึ่งแห่ง ยกเว้นสมาชิกสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยง
และแปรรูปสัตว์น ้านครนายกซึ่งรูปแบบการเลี้ยงมีความหลากหลาย ได้ตัวอย่างสมาชิก 37 ราย ลงพื้นที่ในช่วงเดือน
ธันวาคม 2557 – กุมภาพันธ์ 2558 ทั้งนี้เลือกสมาชิกที่จะสัมภาษณ์จากรายชื่อสมาชิกขององค์กรโดยได้รับความ
ร่วมมือจากผู้น า/กรรมการด าเนินการองค์กร ซึ่งอาจท าให้ข้อมูลที่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์กรอยู่บ้าง ในพื้นที่
กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับความร่วมมือจากผู้น ากลุ่ม ในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรผู้
เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง ได้รับความร่วมมือจากผู้น ากลุ่มและกรรมการกลุ่ม ในพื้นที่ สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด ได้รับ
ความร่วมมือจากกรรมการตัวแทนของแต่ละพื้นที่ ในพื้นที่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น ้านครนายก จ ากัด
ได้รับความร่วมมือจากเลขานุการคณะกรรมการด าเนินการและผู้น าเกษตรกรในพื้นที่ ในพื้นที่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้า
สามร้อยยอด-ปราณบุรี จ ากัด ได้รับความร่วมมือจากกรรมการตัวแทนของแต่ละพื้นที่ ในพื้นที่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่ม
น ้าท่าทอง จ ากัด ได้รับความร่วมมือจากประธานคณะกรรมการฯและกรรมการในพื้นที่ ในพื้นที่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้า
ปากพนัง จ ากัดได้รับความร่วมมือจากผู้จัดการสหกรณ์ฯ และ ในพื้นที่สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าจันทบุรี จ ากัด ได้รับ
ความร่วมมือจากกรรมการด าเนินการ
น ามาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กรอกแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต ่าสุด และ สัดส่วนร้อยละ ในส่วนของความคิดเห็น แบ่งระดับความคิดเห็น
ออกเป็นคะแนนห้าระดับ 1-5 จาก น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด และน าค่าเฉลี่ยมาหาระดับความคิดเห็น คะแนนเฉลี่ย
1.80 ลงมา อยู่ในช่วงไม่คาดหวัง/ไม่สามารถ 1.81-2.60 อยู่ในช่วงคาดหวังน้อย/สามารถน้อย 2.61-3.40 อยู่ในช่วง
คาดหวังปานกลาง/สามารถปานกลาง 3.41-4.20 อยู่ในช่วงคาดหวังมาก/สามารถมาก 4.21-5.00 อยู่ในช่วงคาดหวัง
มากที่สุด/สามารถมากที่สุด
ครั้งที่สาม เป็นการจัดประชุมเชิงชุมชน ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2558 สรุปข้อมูลและผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ในสองครั้งแรก พร้อมทั้งเสนอการวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย-โอกาส-อุปสรรค และกลยุทธ์
ขององค์กร รวมทั้งการวิเคราะห์ สภาวะทั่วไป-สิ่งที่มีอยู่-กระบวนการ-ผลลัพธ์ เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกองค์กรและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พร้อมทั้งเก็บ
ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของการมีส่วนร่วมของสมาชิกและในส่วนของนิเวศวิธีที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
1-11