Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
:
http://arunratduangta.blogspot.c
om/p/1_269.html
5
ภาพที่ 2-1 ที่ตั้งองค์กรชุมชนแปดแห่งที่ศึกษา
ที่มา : http://arunratduangta.blogspot.com/p/1_269.html
สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด ตั้งอยู่ที่อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย สมาชิกเป็นผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดิน อ าเภอ
พานตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัดเชียงราย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีที่ราบเพาะปลูกได้ ใช้ท านาข้าว ท า
สวนผลไม้ ท าไร่ ปลูกผัก ปลูกหอมและปลูกกระเทียม และเลี้ยงสัตว์รวมทั้งสัตว์น ้า มีล าน ้าหลายสาย มีคลองส่งน ้า
ชลประทาน มีถนนเลียบคลอง เข้าถึงพื้นที่ได้สะดวก สภาพพื้นที่และแหล่งน ้าของอ าเภอพานเอื้อต่อการเลี้ยงปลานิล
ตลอดจนสัตว์น ้าจืดอื่นๆ พื้นที่ที่ศึกษาอยู่ในสามต าบล ได้แก่ ต าบลป่าหุ่ง ต าบลสันกลาง และ ต าบลหัวง้ม วางตัวจาก
ต้นน ้าไปปลายน ้า คุณภาพน ้าตอนต้นน ้าดีกว่าปลายน ้าลงไป ผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่ต้นน ้าจะเลี้ยงได้ผลดีกว่าพื้นที่ใต้น ้า
ลงไป เส้นทางคมนาคมและการติดต่อสื่อสารในพื้นที่ท าได้สะดวก เริ่มมีนายทุนเข้ามารวบรวมซื้อที่เป็นแปลงใหญ่ ผู้
เลี้ยงปลานิลในพื้นที่มักจะท านาข้าวไปด้วยและแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งมาขุดบ่อเลี้ยงปลานิล บางรายยังเลี้ยงสุกรในคอกบน
บ่อปลา
สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น ้านครนายก จ ากัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครนายก สมาชิกมีการเลี้ยงปลา
น ้าจืดหลายรูปแบบ มีการเลี้ยงปลานิลที่สหกรณ์ฯ มีความตกลงขายให้เทสโก้โลตัส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และมี
สวนผลไม้อีกส่วนหนึ่ง ในการเลี้ยงสัตว์น ้ามักจะเป็นการเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวยังมีไม่มาก
พื้นที่ศึกษาอยู่ใน ต าบลบางสมบูรณ์ อ าเภอองครักษ์ และ ต าบลศรีจุฬาและต าบลศรีนาวา อ าเภอเมือง จังหวัด
นครนายก พื้นที่ในจังหวัดนครนายกเป็นที่ราบลุ่ม แหล่งน ้าส าคัญคือแม่น ้านครนายก โดยมีคลองและบึงเชื่อมโยงกัน
พื้นที่ในอ าเภอองครักษ์ส่วนที่ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานีได้รับน ้าจากคลองสิบสี่และคลองสิบห้าของคลองรังสิตประยูร
ศักดิ์ แต่แหล่งน ้าในอ าเภอองครักษ์มีเพียงร้อยละ 3.5 ของพื้นที่ พื้นที่อ าเภอองครักษ์บางส่วนมีน ้าทะเลหนุน ในช่วง
มีนาคม-เมษายนน ้ากร่อยท าให้ไม่สามารถท าการเพาะปลูกได้ผลดี แต่มีการน าบางส่วนของพื้นที่ที่ต าบลบางสมบูรณ์มา
ท าสวนส้มโอ อากาศค่อนข้างแห้งแล้งโดยเฉพาะในฤดูร้อน มีปัญหาน ้าเสียในเขตชุมชน และน ้าในแหล่งน ้าตื้นเขินขาด
งบประมาณในการขุดลอก มีวัชพืชเต็มพื้นน ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเปรี้ยว คนในพื้นที่มีอาชีพรับจ้างและท าการเกษตร
2-2