Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในอ าเภอปากพนังเป็นพื้นที่การเกษตรใช้ท านาข้าวและสวนผลไม้ สวนยาง สวนปาล์มน ้ามัน มีบ่อ
               เลี้ยงกุ้งในบริเวณใกล้ชายฝั่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเคยเป็นป่าชายเลนมาก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้เลี้ยงกุ้ง คนในพื้นที่ประกอบอาชีพ
               เพาะปลูก ประมง รวมทั้งเลี้ยงกุ้ง เก็บรังนก ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้ง โรงสีข้าว โรงน ้าแข็ง โรงงานปลาป่น อู่

               ต่อเรือและซ่อมเรือตลอดจนเครื่องยนต์เรือและเครื่องมือประมง คลังน ้ามัน สถานีบริการน ้ามัน และผู้ประกอบธุรกิจ
               การค้า รวมทั้งการค้าสัตว์น ้า และรับจ้าง อ าเภอหัวไทร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ าเภอปากพนัง พื้นที่ท าการเกษตรใช้ท า
               นาข้าว  ปลูกผัก ท าสวนปาล์มน ้ามัน สวนยางพารา สวนสน สวนมะพร้าว สวนผลไม้อื่นๆ (มะนาว  มะม่วง กระท้อน)
               และปลูกกระถินเทพา อีกเล็กน้อย ต าบลที่มีพื้นที่ติดทะเลคือ ต าบลเกาะเพชร และ ต าบลหน้าสตน ซึ่งมีการเลี้ยงกุ้ง
               และยังมีต าบลบางนบในส่วนที่ติดกับต าบลเกาะเพชรที่มีการเลี้ยงกุ้ง พื้นที่หลักของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ต าบลปาก
               พนังตะวันออก ต าบลขนาบนาก ในอ าเภอปากพนัง และ ต าบลเกาะเพชร และ ต าบลบางนบ ในอ าเภอหัวไทร


                       สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าจันทบุรี จ ากัด มีที่ท าการตั้งอยู่ในต าบลปากน ้าแหลมสิงห์ อ าเภอแหลมสิงห์
               จังหวัดจันทบุรี สมาชิกมีบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้ชายฝั่งของจังหวัด พื้นที่เลี้ยงกุ้งของสมาชิกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใน
               อ าเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดจันทบุรี พื้นที่มีส่วนที่ติดทะเล สามารถน าพื้นที่มาใช้
               เลี้ยงกุ้งและสัตว์น ้าอื่นๆได้ มีป่าชายเลนซึ่งส่วนหนึ่งถูกบุกเบิกน ามาใช้เลี้ยงกุ้ง ที่ผ่านมาพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกเบิก

               น าไปใช้เลี้ยงกุ้งกันมาก พื้นที่ป่าลดลง ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ปลูกป่าชายเลน โดยหน่วยงานของรัฐร่วมมือกับชุมชน
               ในพื้นที่เข้ามาช่วยดูแลรักษาป่า  ฟื้นฟูป่าคืนมาได้ส่วนหนึ่ง มีแหล่งน ้าจืดที่มาจากอุทยานแห่งชาติน ้าตกพลิ้ว พื้นที่
               ส่วนที่ติดภูเขาเหมาะแก่การท าการเกษตร ใช้ปลูกพืชสวนเป็นส่วนใหญ่ ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพหลากหลาย
               และมักท ามากกว่าหนึ่งอาชีพ มีทั้งเลี้ยงกุ้งและสัตว์น ้าอื่นๆ เพาะปลูก ท าสวน ค้าขาย และรับจ้าง อาชีพที่ได้รับการ

               ส่งเสริมมากในปัจจุบันจะเป็นงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว มีการสร้างที่พักรองรับนักท่องเที่ยวอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะตาม
               พื้นที่ชายฝั่งทะเล เกือบครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในอ าเภอนี้ยังท าเกษตรกรรม ท าสวนทุเรียน มะม่วง มังคุด เงาะ และ
               มะพร้าว ท านาข้าว คนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันหลากหลาย ทั้งในรูปของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน
               ซึ่งร่วมกันพัฒนาสินค้าหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์เสื่อกกที่ต าบลบางสระเก้า น ้าส ารอง และ
               กะปิ ที่ต าบลปากน ้าแหลมสิงห์ และ ปลากรอบที่ต าบลหนองชิ่ม


               2.2 โครงสร้างการบริหารและจ านวนสมาชิกองค์กรชุมชน
                       ได้สรุปข้อมูลโครงสร้างการด าเนินงานขององค์กรชุมชนที่ศึกษาทั้งแปดแห่งไว้ในตารางที่ 2-1 ประกอบด้วย
               ประเด็นดังต่อไปนี้


               ตารางที่ 2-1  โครงสร้างการด าเนินงานขององค์กรชุมชน ปี 2557
                                               กลุ่มเกษตรกร   สหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิล   สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง
                          รายการ            ฉะเชิงเทรา   ท่าซุง   พาน   นครนายก   สามร้อยยอด   ท่าทอง  ปากพนัง  จันทบุรี
               ปีที่เริ่ม                     2552    2551   2543   2556       2550     2549   2550   2549
               จ านวนสมาชิก (ราย)           660/3 กลุ่ม   179   475   144      270      314    415    136

               บริการปัจจัยผลิต (% ของสมาชิก)
                  พันธุ์สัตว์น ้า             53.33   23.33  86.67   13.51    63.33        3.33   26.67   6.67

                  อาหารสัตว์น ้า              86.67   80.00  86.67   18.92    63.33      -    46.67   10.00
                  เวชภัณฑ์/เคมีภัณฑ์          43.33     -   60.00     -       30.00    53.33   56.67   3.33
               รวบรวมผลผลิต (%ของสมาชิก)     100.00   20.00  86.67   13.51    46.67    10.00   23.33   13.33
               สินเชื่อ (%ของสมาชิก)          16.67   63.33  26.67   2.70     63.33     6.67   16.67   3.33
               รับการฝึกอบรมที่องค์กร (%ของสมาชิก)       46.67  80.00   16.22   83.33   53.33   60.00   36.67
               การเข้าประชุมองค์กร (%ของสมาชิก)       100.00  90.00   89.19   96.67    73.33   93.33   70.00
               ก าไร (ล้านบาท/ปี)                           1.477   0.048     -0.397   0.402   0.350   -0.328


                                                           2-4
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55