Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.4 ระเบียบวิธีวิจัย
1.4.1 ขอบเขตการศึกษา
ก าหนดเลือกองค์กรชุมชนที่จะศึกษาไว้สี่แบบ คือ การจัดองค์กรชุมชนในรูปของกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้จด
ทะเบียนเป็นนิติบุคคล เป็นรูปแบบการรวมกลุ่มในระยะต้น ริเริ่มโดยเกษตรกรที่ท าหน้าที่การตลาดด้วย ซึ่งจะได้แก่
แบบที่หนึ่ง กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา แบบที่สอง กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น ้าซึ่งจด
ทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีกิจกรรมการเพาะเลี้ยง การแปรรูปและการค้าสัตว์น ้า ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง
จังหวัดอุทัยธานี รูปแบบที่สามมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปสหกรณ์ได้แก่ สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด ที่จังหวัด
เชียงราย ซึ่งเป็นการจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลที่พัฒนามาจากการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นนิติบุคคล และ
สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น ้านครนายก จ ากัด ซึ่งมุ่งจะรวบรวมผลผลิตปลานิลส่งขายเทสโก้โลตัส ที่มีโอกาส
ท าสัญญาการค้ากัน และรูปแบบที่สี่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งที่เคยเป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จ ากัด
ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าสามร้อยยอด-ปราณบุรี จ ากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าท่าทอง จ ากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่ม
น ้าปากพนัง จ ากัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าจันทบุรี จ ากัด
กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเลี้ยงปลากะพงครบวงจร มีกลุ่มการเลี้ยงพ่อ
แม่พันธุ์ กลุ่มการเพาะฟักและอนุบาล และกลุ่มการเลี้ยงทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ เกษตรกรนิยมเลี้ยงในบ่อดินมากขึ้น
และมีการให้อาหารเม็ดแทนอาหารสดที่มีราคาสูงขึ้น มีผู้รวบรวมซึ่งบางรายเป็นเกษตรกรด้วยท าหน้าที่รวบรวมปลา
กะพงขาวขายในรูปปลามีชีวิตและปลาแช่น ้าแข็ง ไม่มีการแปรรูป แต่ปลากะพงขาวที่ส่งไปตลาดภาคใต้จะเป็นปลา
ขนาดใหญ่ที่น าไปแล่เนื้อ กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายที่จะศึกษาในพื้นที่นี้มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ใหญ่จรัล นฤภัย ใน
ต าบลหอมศีล อ าเภอบางปะกง ผู้ใหญ่เป็นเกษตรกรที่ใฝ่รู้ พัฒนารูปแบบระบบการเลี้ยง เข้าใจปัญหา อุปสรรคและ
ข้อเด่นของระบบการเลี้ยงปลากะพงตั้งแต่ต้นน ้าจนปลายน ้า ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ 2) กลุ่มผู้ใหญ่นรินทร์
นฤภัย ในต าบลบางกระหาย อ าเภอเมือง เป็นทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้รวบรวมปลากะพง พัฒนาระบบการเลี้ยงและ
ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ใช้ระบบการรับซื้อที่ยุติธรรมส าหรับเกษตรกร 3) กลุ่มจิรายุ-สุทธิ มะหะเลา เป็นผู้ขาย
ปัจจัยการผลิตรายใหญ่ในอ าเภอบางปะกงและเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง ก่อนที่จะมีการใช้อาหารเม็ดในการเลี้ยง
ปลากะพง หัวหน้ากลุ่มได้ทดลองพัฒนาสูตรอาหารร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์รายใหญ่ มีการจดบันทึกข้อมูล
ของเกษตรกรที่เป็นลูกค้าเพื่อพัฒนาการเลี้ยงปลากะพง กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายเหล่านี้สามารถวางแผนการผลิต
ร่วมกันในส่วนของการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงปลากะพงตามฤดูกาลที่เหมาะสม ไม่ให้มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากเกินไป
ช่วยให้ขายได้ราคาที่เหมาะสม มีปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพและยั่งยืน เป็นตัวอย่างการจัดองค์กรชุมชนขั้นต้นเพื่อ
พัฒนาการเลี้ยงปลากะพง ซึ่งควรถอดบทเรียนปัจจัยความส าเร็จเพื่อน าไปพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น ้าจืดที่ ต าบลท่าซุง อ าเภอเมือง จังหวัด
อุทัยธานี เลี้ยงสัตว์น ้าจืดหลายชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลาสวาย ปลาดุก ปลาแรด และปลาเทโพ ประสบปัญหาราคา
ผลผลิตตกต ่า จึงรวมตัวกันจัดองค์กรชุมชนในรูปของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าเมื่อปี พ.ศ.2551 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
รวบรวมผลผลิตจากกลุ่มเปิดแผงจ าหน่ายในตลาดสด ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป สามารถขายผลผลิตได้เร็ว และยังน า
ผลผลิตไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากต่างๆ เช่น แหนมปลา ปลายอ ปลาเส้น ปลาส้ม ปลาร้า การรวมกลุ่มช่วยให้
เกษตรกรสามารถต่อรองราคาอาหารที่ใช้เลี้ยงปลากับผู้ขายอาหารปลา และกลุ่มยังรวมกันท าอาหารปลาใช้เองทั้งชนิด
อาหารเม็ดและอาหารสดสามารถลดต้นทุน่าอาหารได้กว่าครึ่งหนึ่ง และยังเป็นจุดสาธิตการเลี้ยงปลาในกระชังและจุด
สาธิตการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์น ้า กลุ่มฯ มีแผนขยายงานด้านการท่องเที่ยวโดยการสร้างแพจ าหน่ายสินค้าสัตว์น ้า
แปรรูปและท าโฮมสเตย์รองรับการท่องเที่ยว
1-9