Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16-15
นโยบายที่กําหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 3 มีความ
เชื่อมโยงในการกอสรางแหลงน้ําขนาดใหญเพื่อการเกษตรและการปลูกพืชสองครั้งในเขตลุมน้ําเจาพระยา
งานชลประทานราษฎรกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 นโยบายเพิ่มเติมที่สําคัญคือ “การจัดทําแผนแมบท การ
พัฒนาลุมน้ําทุกลุมน้ํามาพิจารณาพรอมกัน แทนการพัฒนาลุมน้ําใดลุมน้ําหนึ่ง” รวมทั้งการพัฒนาแหลงน้ํา
บาดาลเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค อยางไรก็ตามในแผนพัฒนาฉบับนี้ ไมมีการกําหนดนโยบาย
การเก็บคาน้ําชลประทานจากเกษตรกรตามที่กําหนดไวในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แตอยางใด
1)
(3.2) สาระสําคัญของนโยบายน้ําที่คณะรัฐมนตรีแถลงตอรัฐสภา
รัฐบาลคณะที่ 35 นรม : ม.ร.ว เสนีย ปราโมช(15 ก.พ 2518 – 6 มี.ค 2518)
“รัฐบาลจะเรงดําเนินการชลประทานขนาดเล็กและชลประทานยอย โครงการ
ชลประทานขนาดใหญเฉพาะที่กําลังดําเนินการอยูเพื่อใหแลวเสร็จโดยเร็ว”
รัฐบาลคณะที่ 36 นรม: ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช(14 มี.ค 2518 – 12 ม.ค 2519)
“จัดสรรเงินงบประมาณมอบหมายใหสภาตําบลใชแรงงานในทองถิ่น ขุด คู คลอง
ทําฝายเก็บน้ํา โดยเฉพาะในเขตอีสานภาคใต และที่ราบภาคกลาง”
รัฐบาลคณะที่ 37 นรม.: ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช (20 เม.ย 2519 – 23 ก.ย 2519)
“เรงดําเนินการโครงการชลประทานขนาดเล็ก ใหแพรหลายทั่วประเทศ ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งขาดแคลนน้ําจะพัฒนาการชลประทานและคลองสงน้ําใหกวางขวางยิ่งขึ้น”
นโยบายจากการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีตอรัฐสภา ของรัฐบาลคณะที่ 35
ไดเนนการชลประทานที่ขนาดใหญ ขนาดเล็กและขนาดยอม สวนนโยบายของรัฐบาลคณะที่ 36 ไดเนนการ
พัฒนาแหลงน้ําโครงการขุดคูคลองและทําฝายเก็บน้ํา ซึ่งสอดคลองกับนโยบายของรัฐบาลที่ผานมา และมี
ความสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3
(3.3) สาระสําคัญของนโยบายจากมติคณะรัฐมนตรีและการดําเนินการ
มีการพัฒนาแหลงน้ําขนาดใหญและขนาดกลางอยางตอเนื่องจากแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 1 และ 2 ไดมีการกูเงินจากธนาคารโลกมาพัฒนาการเกษตรชลประทานในลุมน้ําเจาพระยาตอนบน
และยืมเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียมาปรับปรุงโครงการหนองหวาย มีการปรับปรุงการประปานครหลวงโดย
ใชเงินกูจากธนาคารโลกเชนเดียวกัน จัดทําโครงการปองกันอุทกภัยจังหวัดอุดรธานี เริ่มตนการเรียนการสอน
สิ่งแวดลอมระดับ ปริญญาโท และมีการประกาศใชพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
พ.ศ. 2518 ซึ่งมีผลตอการกําหนดขนาดของโครงการพัฒนาแหลงน้ําในเวลาตอมา
มีการกอสรางเขื่อนขนาดใหญ (ความจุ 100 ลาน ลบ.ม ขึ้นไป) คือ (1) เขื่อนศรีนครินทร
(2) เขื่อนแมงัดสมบูรณชล
(3.4) สรุปความสอดคลองของนโยบายจาก 3 แหลง
“นโยบายจากมติคณะรัฐมนตรีและการดําเนินการ มีความสอดคลองกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงตอรัฐสภา ในเรื่องการกอสราง
ระบบชลประทาน การพัฒนาแหลงน้ํา การสงน้ําถึงมือเกษตรกร
---------------------------------
1)
นโยบายของรัฐบาลที่แถลงตอรัฐสภาคณะที่ 32 คณะที่ 33 และคณะที่ 34 ไมมีสวนที่เกี่ยวของกับนโยบายน้ํา