Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
67
ล าต้น
4) cladophyll หรือ phylloclade หรือ cladole เป็นล าต้นที่เปลี่ยนแปลงไป มีลักษณะและ
หน้าที่คล้ายใบ โดยล าต้นแผ่เป็นแผ่นแบนหรือเป็นเส้นเล็กยาว และมีสีเขียวคล้ายใบ ท าให้สังเคราะห์แสง
ได้ จึงเรียกว่า ล าต้นสังเคราะห์แสง (photosynthetic stem) เช่น ต้นสนทะเล หรือสนปฎิพัทธ์ ที่เห็นเป็น
สีเขียวต่อเนื่องกันเป็นปล้องๆ นั้นคือล าต้นที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนใบที่แท้จริงมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ มีสี
ขาวอยู่รอบตามข้อ เรียกว่า ใบเกล็ด (scale leaf) นอกจากนี้ได้แก่พืชอวบน้ า คือพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้ง
กันดารน้ า (xerophyte) เช่น กระบองเพชร สลัดได พญาไร้ใบ และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น (ภาพที่ 4.6 ข)
ก) bulbil ข) cladophyll
ภาพที่ 4.6 ลักษณะล าต้นพิเศษ ก) bulbil และ ข) cladophyll
ล าต้นใต้ดิน (underground หรือ subterranean stem)
ล าต้นเหล่านี้ คล้ายกับเป็นรากแขนงที่แตกออกจากรากแก้ว แต่มีข้อและปล้อง และบางทีก็มีตา
ด้วย ล าต้นใต้ดินมักมีรูปร่างต่างไปจากล าต้นเหนือดิน โดยมีรูปร่างกลม แท่งยาว หัว แง่ง หรืออื่นๆ ส่วน
ใหญ่จะท าหน้าที่สะสมอาหาร หรือขยายพันธุ์ ล าต้นใต้ดินสามารถจ าแนกได้เป็น
1) rhizome หรือ rootstock เป็นล าต้นใต้ดินที่เรียกกันทั่วไปว่า แง่ง หรือ เหง้า มีข้อและปล้อง
เห็นได้ชัดเจน ไม่มีคลอโรฟิลล์ และตามข้อมีเกล็ดใบสีน้ าตาลหุ้มตาไว้ มีรากงอกลงดิน (ภาพที่ 4.7ก) ถ้า
หากมีอาหารสะสมมากจะอวบอ้วนขึ้น ตาเหล่านี้อาจแตกแขนงเป็นล าต้นใต้ดิน หรือแตกเป็นใบโผล่
ขึ้นมาเหนือดิน หรืออาจแตกออกเป็นล าต้นเหนือดินด้วย ล าต้นที่เป็นแง่ง มักขนานกับผิวดิน เช่น ขิง ข่า
และขมิ้น ส่วนล าต้นที่เป็นเหง้าจะตั้งตรง เช่น กล้วย พุทธรักษา กระชาย และว่าน ต้นกล้วยที่เรียกกัน
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ