Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
64
โครสร้างพืช
3). columnar trank มีการแตกกิ่งจากปลายยอดของล าต้น ท าให้เห็นรูปทรงของล าต้นชัดเจน
ไม่มีกิ่งก้านตามล าดับ การแตกกิ่งแบบนี้ได้แก่ มะพร้าว ตาล และหมาก เป็นต้น
ชนิดของล าต้น
ล าต้นของพืชมีความแตกต่างกันตามลักษณะตาที่เกิดขึ้นบนต้น การเจริญเติบโตของล าต้น และ
ตามที่อยู่ของล าต้น ถ้าจ าแนกตามที่อยู่สามารถจ าแนกล าต้นออกได้เป็น
ล าต้นเหนือดิน (aerial stem)
ล าต้นใต้ดิน (underground หรือ subterranean stem)
ล าต้นเหนือดิน มีหลายประเภทโดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
1. พิจารณาจากลักษณะโครงสร้างภายใน สามารถแบ่งล าต้นออกได้เป็น
1) ไม้เนื้อแข็ง (woody stem) ล าต้นพวกนี้มีเนื้อไม้ที่มีการเจริณขั้นที่สอง เช่น สน (pine)
ไม้ยืนต้น (tree) และไม้พุ่ม (shrub)
2) ไม้เนื้ออ่อน (herbaceous stem) ล าต้นพวกนี้ไม่มีเนื้อไม้ที่มีการเจริญขั้นที่สอง เช่น
ไม้ล้มลุก (annual) ต่างๆ
2. พิจารณาจากล าต้นที่เปลี่ยนแปลง หรือล าต้นพิเศษ (modified stem) สามารถจ าแนก
ล าต้นที่เปลี่ยนแปลงออกได้เป็น (ภาพที่ 4.4)
ล าต้นเหนือดิน
1) creeping stem หรือ prostrate เป็นล าต้นที่ทอดยาวหรือเลื้อยขนานไปกับผิวดิน หรือผิว
น้ า ลักษณะล าต้นอ่อน ไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ บริเวณข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงไปในดิน เพื่อ
ช่วยยึดล าต้นให้แน่นอยู่กับที่ได้ และจากข้อนี้จะมีตาแยกเป็นแขนงยาวงอกรากและใบต่อไปอีก แยกไป
เช่นนี้เรื่อยไป จัดเป็นวิธีแพร่พันธุ์ของพืชวิธีหนึ่ง แขนงล าต้นที่ทอดขนานไปตามพื้นดินหรือผิวน้ านี้
เรียกว่า stolon หรือ runner เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา บัวบก จอก แตงโม และหญ้า เป็นต้น นัก
พฤกษศาสตร์บางท่านแยก stolon กับ runner ออกจากกันคือ พวกที่ล าต้นทอดขนานไปกับผิวดินหรือผิว
น้ า แล้วงอกรากและต้นใหม่ออกมาตรงข้อ เรียกว่า stolon (ภาพที่ 4.4) ส่วนล าต้นพวก runner เป็นล า
ต้นที่ไม่ได้ทอดขนานกับผิวดินหรือผิวน้ า แต่โค้งหรือทอดเอนลงแตะผิวดินหรือผิวน้ า แล้วงอกรากและต้น
ใหม่ออกมาตรงข้อ เช่น สตรอเบอรี (ภาพที่ 4.4) ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ