Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
61
ล าต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพืชที่มีเนื้อไม้ ที่ได้รับสภาพอากาศหนาวเย็น หรือแห้งแล้ง จะมีเกล็ดหุ้มตามาปก
คลุม เกล็ดตาดังกล่าวมีลักษณะหนาและแข็ง อาจมีขน หรือสารเหนียวปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อเกล็ด
หุ้มตาขยายออก ตาก็จะเจริญออกมาและพัฒนาเป็นส่วนของล าต้น กิ่ง ก้าน ใบ หรือดอก ขึ้นกับชนิดของ
ตานั้น หรือสภาพที่เหมาะสมบางประการ
นอกจากตาชนิดต่างๆ ที่พิจารณาจากการพัฒนาของตาแล้ว ยังสามารถจ าแนกออกได้ตาม
ต าแหน่งที่อยู่บนล าต้น คือ
ตาข้าง (axillary bud หรือ lateral bud) เป็นตาที่อยู่บริเวณซอกใบ (leaf axil) ซึ่งเป็นบริเวณ
ระหว่างล าต้นกับก้านใบมาบรรจบกัน
ตายอด (terminal bud หรือ apical bud) เป็นตาที่อยู่บริเวณปลายกิ่ง หรือปลายยอด
ตาพิเศษ (adventitious bud) เป็นตาที่เกิดจากส่วนอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นบริเวณใกล้กับตาข้าง
เมื่อตาข้างถูกท าลาย หรือจากส่วนของล าต้นอื่นๆ ที่ถูกตัดท าลายไป
ทั้งตาข้างและตายอดจะให้ก าเนิดตาใบหรือตาดอก ขึ้นกับชนิดพืชและระยะพัฒนาการของพืช
นั้นๆ โดยส่วนใหญ่พืชใบเลี้ยงคู่นั้น การเจริญของ terminal bud จะท าให้ล าต้นเติบโตสูงขึ้น ในขณะที่พืช
ใบเลี้ยงเดี่ยวจะเจริญให้ตาใบระยะหนึ่งเพื่อการเจริญทางล าต้น แล้วจึงเปลี่ยนเป็นตาดอกเพื่อสร้างดอก
ต่อไป การเจริญทางล าต้นในที่สุดจะหยุดชะงักไป
ส าหรับตาใบที่พัฒนาไปเป็นใบหรือกิ่ง มีการจัดเรียงอยู่บนข้อของล าต้นแตกต่างกัน (ภาพที่ 4.2)
ได้แก่
1
1
3 2
1 2 3 3 2 1 2 4 6 5 3 1 2 4 4 2 1 2 2 1
2
3
1
1
opposite alternate whorled
opposite-alternate pairs spiral
(decussate)
ภาพที่ 4.2 ไดอะแกรมแสดงการจัดเรียงของตาบนล าต้น
แบบสลับ (alternate) เป็นตาที่เกิดอยู่บนข้อของพืชแต่ละข้อสลับกันด้านซ้ายและขวา
แบบเกลียว (spiral) เป็นตาที่เกิดเรียงกันเป็นเกลียว หรือเวียนรอบล าต้นขึ้นไป
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ