Page 69 -
P. 69

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                  63
                                                                                   ล าต้น


                     หนามที่เปลี่ยนแปลงมาจากใบ  โดยเปลี่ยนแปลงมาจากแผ่นใบที่มีลักษณะแบนและมีสี

                      เขียว  เป็นหนามที่มีรูปร่างยาวเรียวและแข็ง เช่น หนามของต้นตะบองเพชร เป็นต้น

                    รอยแตก  ในพืชที่มีเนื้อไม้เมื่อล าต้นมีอายุมากขึ้น จะมีรอยแตกตามผิว มีสีน้ าตาล เรียกว่า

            lenticel  มีลักษณะคล้ายแว่น หรือเลนซ์  ส าหรับเป็นช่องทางให้อากาศซึมผ่านเข้าสู่ล าต้นได้  การเกิดรอย
            แตกนี้เกิดขึ้นขณะที่พืชมีการสร้าง cork  ก็จะมีการสร้างรอยแตกนี้ด้วย  โดยปกติมักเกิดขึ้นใต้ปากใบก่อน

            โดยเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญ หรือ cork cambium แบ่งตัวหลายระนาบ  เป็น
            เซลล์ที่มีผนังบางที่ไม่มีสารซูเบอรินมาสะสม  มีช่องว่างระหว่างเซลล์จ านวนมาก  เรียกเนื้อเยื่อเหล่านี้ว่า

            complementary tissue  ซึ่งจะดัน epidermis ให้ฉีกขาดออกเป็นแผลหรือรอยแตกของ lenticel นี้

                    รอยแผล  บนล าต้นขณะที่เจริญเติบโตจะมีการหลุดร่วงของใบและกิ่ง  ท าให้เห็นเป็นรอยแผล

            โดยถ้าเกิดจากการหลุดร่วงของใบเรียกว่า leaf scar  ซึ่งอาจมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น กลม ตัวยู ตัว

            วี หรือสามเหลี่ยม  รอยแผลเหล่านี้อาจมองเห็นเป็นรอยขีดเล็กๆ ของกลุ่มท่อล าเลียงที่ต่อกันระหว่างล า
            ต้นกับใบหรือกิ่ง  เรียกรอยแผลนี้ว่า bundle scar หรือ vascular bundle scar  ส าหรับล าต้นที่มีการสร้าง

            cork ท าให้เปลือกล าต้นขรุขระ  และมองเห็นรอยแผลไม่ชัดเจน



            การเจริญเติบโตของล าต้น


                    การเจริญเติบโตของล าต้น มีการแตกแขนงท าให้เกิด กิ่ง รวมทั้งใบ และดอก  พัฒนามาจากเซลล์
            บริเวณผิวนอก 1-2 ชั้น เรียกการแตกแขนงนี้ว่า exogenous  branching  ในขณะที่รากแขนงเกิดมาจาก

            การพัฒนาของเซลล์ที่อยู่ด้านในคือ pericycle  เรียกการแตกแขนงแบบนี้ว่า  endogenous branching

                    ส่วนล าต้นของไม้ยืนต้นที่มีล าต้นตั้งตรงเหนือพื้นดิน  มีการแตกกิ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

                    1). excurrent  branching เป็นการแตกกิ่งจากล าต้นหลัก มีการแตกกิ่งจากโคนต้น ขนานไปกับ

            ผิวดินในแนวระดับ กิ่งล่างสุดมีขนาดใหญ่และอายุมาก ขณะที่กิ่งบนจะมีขนาดและอายุน้อยกว่า ท าให้

            เห็นรูปทรงของต้นเป็นรูปกรวยยอดแหลม ลักษณะของการแตกกิ่งแบบนี้ได้แก่ การแตกกิ่งของล าต้นสน
            ทะเล และสนปฎิพัทธ์


                    2). deliquescent  branching  การแตกกิ่งเป็นไปทุกทิศทางโดยไม่มีล าต้นหลัก  และเห็นล าต้น
            ชัดเจนเฉพาะส่วนล่าง  หรือรูปทรงต้นที่เป็นพุ่ม  พบในการแตกกิ่งของล าต้นไม้ยืนต้นไป เช่น มะขาม

            จามจุรี และนนทรี เป็นต้น





                                                                                  รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74