Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
65
ล าต้น
นอกจากนี้ ยังมีล าต้นชนิดหนึ่งที่คล้ายกับ stolon และ runner แต่ช่วงสั้นและอวบกว่า เช่น ตะเกียง
สับปะรด และต้นป่านศรนารายณ์ เรียกล าต้นชนิดนี้ว่า offset
ก) stolon ข) runner
ภาพที่ 4.4 ลักษณะล าต้นพิเศษ ที่มีล าต้นทอดยาว แบบ ก) stolon และ ข) runner
2) climbing stem เป็นล าต้นที่เลื้อย หรือปีนป่ายไปตามก้อนหิน ไม้หลัก หรือต้นไม้อื่นๆ
พืชพวกนี้มีล าต้นอ่อนเช่นกัน และสามารถจ าแนกออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะของการเลื้อยเกาะ
ดังนี้
2.1) twiner หรือ twining stem เป็นล าต้นที่ไต่ขึ้นที่สูง โดยใช้ล าต้นพันกับหลักเป็น
เกลียวขึ้นไป บางชนิดพันเวียนขวา บางชนิดพันเวียนซ้าย เช่น ถั่ว บอระเพ็ด และเถาวัลย์ต่างๆ (ภาพที่
4.5 ก)
2.2) stem tendril เป็นล าต้นที่ดัดแปลงเป็นมือเกาะส าหรับพันหลัก เพื่อไต่ขึ้นที่สูง
ส่วนของมือพัน (tendril) จะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น เมื่อลมพัดยอดเอนไปมา มือ
พันก็จะยืดและหดได้ เช่น ต้นเสาวรส ลิ้นมังกร พวงชมพู องุ่น บวบ ฟักทอง และต าลึง มือพันนี้อาจเป็นใบ
ที่เปลี่ยนแปลงมาก็ได้ แต่จะทราบว่าเป็นใบหรือล าต้นแน่ ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาถึงก าเนิดเสียก่อน บาง
ชนิดสังเกตได้ เช่น ใบถั่วลันเตา ส่วนปลายของใบจะกลายเป็นมือพัน บางชนิดก้านใบกลายเป็นมือพัน
เช่น บานบุรีสีม่วง (ภาพที่ 4.5 ข-ค)
2.3) stem spine และ stem thorn เป็นล าต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนาม หรือขอเกี่ยว
(hook) ส าหรับไต่ขึ้นที่สูง ล าต้นชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า scrambler หนามหรือขอนี้นอกจากท าหน้าที่ไต่
ขึ้นที่สูงแล้ว ยังท าหน้าที่ป้องกันอันตรายอีกด้วย ตัวอย่าง หนามของต้นเฟื่องฟ้า มะนาว และส้ม เป็นตา
ที่อยู่ระหว่างใบกับล าต้น จึงจัดว่าเป็นล าต้น หนามนี้อาจแตกแขนงเพื่อเกาะเกี่ยวรั้วหรือต้นไม้อื่นขึ้นไป
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ