Page 75 -
P. 75

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                  69
                                                                                   ล าต้น


            บริเวณที่เป็นตาจะไม่ขยายขนาดออกมาด้วย  จึงเห็นตาบุ๋มลึกลงไป เช่น มันฝรั่ง  ซึ่งเป็นพืชที่มีล าต้น

            เหนือดินและมี rhizome ใต้ดิน  ตรงปลายของ rhizome จะพองออกเป็นหัว (tuber)  ตาแต่ละตาสามารถ
            งอกเป็นต้นใหม่ได้ เนื่องจากแต่ละตานั้นคือข้อซึ่งมีใบเกล็ดขนาดเล็กมาก  และมีตาประมาณ 3 ตาอยู่ด้วย

            ล าต้นใต้ดินพวกนี้ได้แก่ มันฝรั่ง แห้วหมู มันมือเสือ และกลอย เป็นต้น (ภาพที่ 4.7ข)

                    3.  corm  เป็นล าต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับ bulb  มีลักษณะทั่วไปดูคล้าย bulb  แต่สะสม

            อาหารไว้ในล าต้นแทนที่จะสะสมไว้ในใบเกล็ด  ท าให้ล าต้นอ้วนมาก  เห็นข้อได้ชัดเจน  ตามข้อมีใบเกล็ด
            บางๆ หุ้ม  มีตางอกออกมาตามข้อและเจริญเป็นใบขึ้นสู่อากาศ  หรือเป็นล าต้นที่อยู่ใต้ดินต่อไป  ทาง

            ด้านล่างของล าต้นมีรากเล็กๆ เช่นกัน เช่น แห้วจีน เผือก และ แกลดิโอลัส เป็นต้น (ภาพที่ 4.7ค)

                    4.  bulb  เป็นล าต้นใต้ดินที่ตั้งตรง  อาจสูงพ้นดินขึ้นมาบ้างก็ได้  เป็นล าต้นเล็กๆ มีปล้องสั้นมาก

            ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้น  ห่อหุ้มล าต้นเอาไว้จนเห็นเป็นหัวขึ้นมา  อาหารจะสะสมอยู่ในใบ
            เกล็ด  แต่ในล าต้นไม่มีอาหารสะสม  ตอนล่างของล าต้นมีรากเล็กๆ งอกออกมา ได้แก่ หัวหอม พลับพลึง

            ทิวลิป และกระเทียม เป็นต้น (ภาพที่ 4.7ง)



            ลักษณะโครงสร้างภายในของล าต้น


                    เนื่องจากล าต้นพืชมีลักษณะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป  พืชบางชนิดมีการเจริญเติบโต
            ขั้นแรกตลอดชีวิต บางชนิดมีการเจริญขั้นที่สองเพื่อเพิ่มขนาดและความยาว  ดังนั้นลักษณะโครงสร้างของ

            ล าต้นพืชจึงมีความแตกต่างกัน ลักษณะโครงสร้างภายในของล าต้นตามการเจริญเติบโตของพืชได้ คือ



                  การเจริญเติบโตขั้นแรก (primary growth)


                    การเจริญเติบโตขั้นแรก (primary growth)  เป็นการเจริญเติบโตเพื่อการขยายขนาดทั้งทางด้าน
            กว้างและยาวของแกน (axis)    บริเวณปลายของกิ่งหรือล าต้นประกอบด้วยบริเวณเนื้อเยื่อต่างๆ (ภาพที่

            4.8) คือ

                   meristematic  zone    เป็นบริเวณเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ปลายสุด เป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า  apical
            meristem  กลุ่มเซลล์บริเวณนี้มีการแบ่งตัวและเพิ่มจ านวนเซลล์ตลอดเวลา


                   elongation zone  เป็นบริเวณที่ต่ าลงมาจาก meristematic zone เซลล์มีการขยายขนาดและยืด
            ตัว






                                                                                  รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80