Page 78 -
P. 78

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              72
                     โครสร้างพืช



            ล าต้นพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledonous stem)


                    ส าหรับพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่มีเนื้อไม้ (ภาพที่ 4.10) จะประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ ชั้นต่าง ๆคือ

                    1.  epidermis  เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดเช่นเดียวกับในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

                    2. cortex  ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้นถัดจาก epidermis  เข้าไป  เป็นเนื้อเยื่อ collenchyma,

            parenchyma และบางชนิดอาจมี sclerenchyma แทรกอยู่แตกต่างกันออกไป เช่น

                    -  ล าต้นกลมหรือ เรียบ  มีเนื้อเยื่อ collenchyma กระจายตัวรอบล าต้นถัดจาก epidermis เข้าไป
                     เช่น ใบเงินใบทอง


                    -  ล าต้นเหลี่ยมหรือโค้ง มี collenchyma  อยู่บริเวณส่วนโค้งของล าต้น  เช่น ฤาษีผสม และ
                     ดาวเรือง

                    -  ไม้ล้มลุกทั่วไป มี parenchyma เป็นส่วนใหญ่

                    -  พืชน้ า  มี parenchyma และ arenchyma

                    -  ไม้เนื้อแข็ง  มี sclerenchyma แทรกอยู่เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

                    พืชบางชนิด ชั้นในสุดของ cortex อาจมีเนื้อเยื่อ endodermis  ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีผนังหนา  มีเม็ด

            แป้ง  แต่ส่วนใหญ่ล าต้นมักไม่มี endodermis  นอกจากนี้ ชั้นของ cortex อาจมีเซลล์ที่ท าหน้าที่ขับถ่าย

            สารที่เรียกว่า secretory cell  หรือท่อน้ ายาง (resin  duct)  และสารอื่นๆ ปะปนอยู่

                    3.  stele  กลุ่มท่อล าเลียงของพืชใบเลี้ยงคู่มีเนื้อเยื่อขั้นแรก (primary  vascular  tissue)

            ประกอบด้วย primary phloem อยู่ด้านนอกและ primary xylem อยู่ด้านใน ซึ่งจะรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า
            vascular bundle  ส าหรับท่อน้ าใน vascular bundle จะมี protoxylem ซึ่งเป็นท่อน้ าที่เกิดขึ้นก่อนอยู่ด้าน

            ใน  และ metaxylem เป็นท่อน้ าที่เกิดขึ้นภายหลัง  มีขนาดใหญ่อยู่ด้านนอกของล าต้น  vascular bundle
            ของล าต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะแตกต่างกัน ในพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นวงรอบล าต้น และมี

            เนื้อเยื่อของ vascular  cambium  (fasicular  cambium)  มาขั้นกลางระหว่างท่อน้ าและท่ออาหาร
            vascular bundle ลักษณะนี้เรียกว่า open vascular bundle ซึ่งการมี vascular cambium นี้เป็นผลให้

            พืชใบเลี้ยงคู่มีการเจริญขั้นที่สองต่อไป (ภาพที่ 4.10)  ขณะที่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว vascular  bundle  ไม่มี

            vascular  cambium  มาคั่นระหว่างท่อน้ าและท่ออาหาร ท าให้ไม่มีการเจริญขั้นที่สอง เรียกว่า  closed
            vascular bundle  และการเรียงตัวของ vascular bundle กระจายทั่วล าต้น (ภาพที่ 4.9)






            รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83