Page 79 -
P. 79
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
73
ล าต้น
collenchyma
opened vascular bundle
epidermis
pith
primary xylem
vascular cambium
primary phloem
ภาพที่ 4.10 ลักษณะโครงสร้างภายในของล าต้นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีการเจริญขั้นแรก
ถ้าตัดล าต้นตามความยาว จะเห็นลักษณะท่อล าเลียงเป็นทรงกระบอก (cylinder) เรียกว่า ท่อ
ล าเลียง (vascular cylinder) ที่ยาวต่อเนื่องกัน โดยบริเวณข้อของล าต้นและตาอยู่ ท่อล าเลียงจะขาดจาก
กัน เรียกว่า gap เนื่องจากเกิดท่อล าเลียงแยกเข้าไปในก้านใบและตา โดยเนื้อเยื่อพาเรนไคมาจะเกิด
ขึ้นมาแทนที่ รอยขาดตรงก้านใบเรียกว่า leaf gap และตาเรียกว่า bud gap ส่วนท่อล าเลียงที่แยกเข้า
ไปในก้านใบเรียกว่า leaf trace ส่วนที่เข้าไปในตาเรียกว่า bud trace จ านวนของ leaf trace ที่ขึ้นไปสู่
ใบต่างกันไปตามชนิดของพืช ซึ่งอาจมี 1, 3, 5 หรือมากกว่าก็ได้ trace เหล่านี้เกิดต่อจากล าต้นไปที่ก้าน
ใบ และเกิดเป็นเส้นใบต่างๆ ท่อล าเลียงจากล าต้นจึงติดต่อกันตลอดจากรากถึงล าต้น ใบ ตา และดอก ได้
4 pith เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของล าต้น (ภาพที่ 4.10) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่มีผนัง
บาง และมีช่องว่างระหว่างเซลล์ มักพบในพืชที่ไม่มีเนื้อไม้ นอกจากนี้ pith ของพืชบางชนิดจะสลายไป
ท าให้ล าต้นมีลักษณะกลวง เรียกว่า pith cavity เช่น พืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด (หญ้า
ขน,อ้อ) ในพืชที่เป็นไม้เนื้อแข็งนั้น pith จะมีลิกนินเข้ามาสะสมอยู่ ท าให้ล าต้นแข็งแรง และเซลล์มักตาย
ตั้งแต่พืชยังมีอายุน้อย
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ