Page 77 -
P. 77
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
71
ล าต้น
อ่อน หรือมีสีเขียว อาจมีปากใบ (stomata) ในชั้นของ epidermis นอกจากนี้ อาจมี trichome ชนิดต่างๆ
อยู่ด้วย
2. cortex เป็นชั้นบางๆ 1-2 ชั้น อยู่ระหว่าง epidermis กับชั้นนอกสุดของท่อล าเลียง เป็น
เนื้อเยื่อ sclerenchyma ที่มีผนังเซลล์หนา และพาเรนไคมา
3. stele ประกอบด้วยกลุ่มของท่อล าเลียงที่อยู่กระจาย ไม่เรียงเป็นวงรอบต้น โดยมีมากใน
บริเวณใกล้กับ epidermis และถัดเข้าไปข้างในจะมีน้อยลง ท่อล าเลียงมีพาเรนไคมาเป็นเซลล์พื้นอยู่
ล้อมรอบ ในพืชบางชนิดตอนกลางของล าต้นมี pith cavity เกิดขึ้น ท าให้บริเวณปล้องกลวง
epidermis
closed vascular bundle
phloem
xylem
air space
ภาพที่ 4.9 ลักษณะโครงสร้างภายในของล าต้นพืชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีการเจริญขั้นแรก
กลุ่มท่อล าเลียง (vascular bundle) ของล าต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักไม่มีแคมเบียมท าให้ไม่เกิดการ
เจริญขั้นสอง เรียกกลุ่มท่อล าเลียงนี้ว่า closed vascular bundle เมื่อตัดตามขวางจะมีลักษณะคล้าย
หน้าคน โดยมีท่อน้ าประกอบด้วย xylem vessel ขนาดใหญ่ 3 เซลล์ สองเซลล์แรกอยู่ในต าแหน่งตาสอง
ข้าง เซลล์เล็กอีกอันอยู่ในต าแหน่งที่เป็นจมูก หน้าผากเป็นเซลล์ของท่อล าเลียงอาหารซึ่งประกอบด้วย
sieve-tube และ companion cells ในกลุ่มท่อล าเลียงที่แก่ยังมีช่องว่างขนาดใหญ่เรียกว่า intercellular
passage หรือ air space อยู่ในต าแหน่งของปากเกิดจาก vessel ที่สลายไป ท่อล าเลียงโดยทั่วไปมักมี
bundle sheath ล้อมรอบ ประกอบด้วย sclerenchyma และ fiber มีหน้าที่ป้องกันท่อล าเลียง และช่วย
ให้ล าต้นแข็งแรง (ภาพที่ 4.9)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ