Page 62 -
P. 62
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
56
โครสร้างพืช
9. รากพูพอน (buttress root) เป็นรากที่มีส่วนหนึ่งเจริญเป็นสันพ้นดินขึ้นมารอบบริเวณโคน
ต้น เป็นพู เรียกว่า พูพอน ส่วนมากมักเกิดกับไม้ยืนต้น เกิดจากการที่รากทางด้านบนมีการเจริญ
มากกว่าด้านล่าง ท าให้ด้านบนหนา เป็นเนื้อไม้แข็งโผล่ขึ้นมาเหนือดิน มักพบในพืชที่มีอายุมาก ๆ เช่น
ตะบูน และ ทองหลาง เป็นต้น (ภาพที่ 3.19)
ภาพที่ 3.19 รากที่เปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่พิเศษ : รากพูพอน (buttress root)
ไมโครไรซา (Mycorrhizae)
พืชหลายชนิดมักมีราอาศัยอยู่ที่บริเวณรากพืช และอาศัยร่วมกันแบบพึ่งพา (symbiosis) รา
เหล่านี้มีความสามารถในการดูดตรึงฟอสฟอรัสให้กับพืช พืชบางชนิดเมื่อขาดไมโครไรซาแล้วการดูดธาตุ
ฟอสฟอรัสจากดินเป็นไปได้ยากแม้ว่าในดินนั้นจะมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ก็ตาม ไมโครไรซามีความจ าเป็นต่อ
การเจริญเติบโตของไม้ป่าและพืชล้มลุกหลายชนิด เมล็ดกล้วยไม้บางชนิดจะไม่สามารถงอกได้ถ้าไม่มีไม
โคไรซาเข้าไปอยู่ในเซลล์ โดยทั่วไปไมโครไรซาจะเจริญเติบโตอยู่ที่ผนังเซลล์ชั้นนอกของคอร์เทก อาจมี
บ้างที่สามารถเจริญเติบโตจนเข้าไปถึงชั้น endodermis แต่จะไม่สามารถผ่าน casparian strips เข้าไป
ด้านในของรากพืชได้
ปมราก (root nodules)
รากพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรากพืชตระกูลถั่วจะมีปมรากที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอยู่อาศัย
ของเบคทีเรียบางชนิดที่สามารถตรึงกาซไนโตรเจนในบรรยากาศและเปลี่ยนมาอยู่ในรูปไนเตรทที่เป็น
ประโยชน์ต่อพืช เบคทีเรียเหล่านี้ได้แก่ ไรโซเบียม (rhizobium) (ภาพที่ 20)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ