Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                  55
                                                                                   ราก


                   6.  รากหายใจ หรือ รากทุ่นลอย (respiratory  or  aerating  root)    รากบางชนิดท าหน้าที่ช่วย

            หายใจมากเป็นพิเศษ  โดยการชูปลายรากขึ้นมาเหนือพื้นดิน หรือ   ลอยตามผิวน้ า  มักประกอบด้วย
            เนื้อเยื่อ parenchyma  ที่มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก  เพื่อให้อากาศผ่านเข้าสู่เซลล์ชั้นในของรากได้

            โดยง่าย  โดยมี lenticel มาก  รากชนิดนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า pneumatophores เช่น รากล าพู และ แสม
            เป็นต้น (ภาพที่ 3.17)











              ภาพที่ 3.17  รากที่เปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่พิเศษ : pneumatophores

                   7.  รากกาฝาก (parasitic root) เป็นรากของพืชที่เป็นปรสิต โดยไปเกาะอาศัย (host) เพื่อแย่ง
            อาหาร จากพืชอื่น เช่น รากกาฝาก ฝอยทอง รากของพืชเหล่านี้จะทอดไปตามความยาวของกิ่งไม้ที่เกาะ

            กิน  แล้วส่งรากเส้นเล็ก ๆ แทงลงไปในล าต้นของพืชให้อาศัย เรียกว่า haustoria  ซึ่งจะแทงเข้าไปจนถึง

            เนื้อเยื้อท่อน้ าและท่ออาหาร เพื่อดูดน้ าและส่งอาหารเพื่อน าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ต่อไป (ภาพที่ 3.18)


















              ภาพที่ 3.18  รากที่เปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่พิเศษ : รากกาฝาก (parasitic root)

                   8.  รากคอนแทร์กไทล์  (contractile  root)    เป็นรากที่พบบนล าต้นใต้ดินพวก  bulb  และ corm
            ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ Liliaceae และ Iridaceae เช่น แกลดิโอลัส เป็นต้น  รากพวกนี้จะช่วยดึงให้หัว

            ของพืชนั้นลึกลงไปในดิน    อาจเกิดกับพืชที่มี  rhizome  เช่น  ในพวกหน่อไม้ฝรั่ง  (Asparagus  sp.)  ได้
            เช่นกัน  โดยช่วยยึดพืชนั้นให้มั่นคงขึ้น  แต่ไม่ถึงให้จมลงไปในดิน




                                                                                  รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66