Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                  51
                                                                                   ราก



            การเจริญขั้นที่สองของราก (secondary growth of root)


                   รากของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชจิมโนสเปอร์ม (gymnosperm) มีการเจริญขั้นที่สอง  ท าให้ราก
            ขยายขนาดใหญ่ขึ้นและมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน การเจริญขั้นที่สองเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อ vascular

            cambium และ cork cambium มีการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจ านวนเซลล์และเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นเนื้อเยื่อ
            ถาวร

                    ส่วนรากพืชชั้นสูงพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  มักไม่มีเนื้อเยื่อแคมเบียม  การขยายขนาดของรากเกิด
            จากการขยายตัวของเนื้อเยื่อขั้นแรก  ยกเว้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ที่ขนาดของรากขยายใหญ่ขึ้น

            เนื่องจากมีเนื้อเยื่อพวก cambium-like ซึ่งอยู่ในชั้นของ cortex หรือ ground meristem  เกิดการแบ่งตัว

            เป็นเซลล์กลุ่มใหม่  และเจริญเปลี่ยนรูปไปเป็นเซลล์ต่างๆ  ท าให้รากมีขนาดใหญ่ขึ้น  พบในรากของ
            มะพร้าว และปาล์ม


                   ส าหรับการเจริญขั้นที่สองเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อ vascular cambium ที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ primary
            phloem  และ primary  xylem  มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจ านวนเซลล์และขยายออกไปตามความยาวจนเกิด

            รอบ และเปลี่ยนแปลงให้เนื้อเยื่อ secondary  xylem  และ secondary  phloem    โดยเกิด secondary
            xylem ที่มากกว่าเข้าไปด้านใน และ secondary phloem ออกมาด้านนอก  เมื่อเกิดมากขึ้นเนื้อเยื่อส่วน

            ของ primary phloem, secondary phloem และ แคมเบียม  จะถูกดันออกไปด้านนอก  จนในที่สุดเกิด

            เป็นวงล้อมรอบ secondary xylem  รากที่มีการเจริญขั้นที่สองมีลักษณะคล้ายล าต้น แต่จะต่างกับการ
            เจริญขั้นที่สองของล าต้นตรงที่ใจกลางของรากมีเนื้อเยื่อ primary  xylem    ในขณะที่ล าต้นจะเป็น pith

            (ภาพที่ 3.12) นอกจากนี้แล้ว บริเวณเนื้อเยื่อ pericycle  อาจมีเนื้อเยื่อแคมเบียม  ที่สามารถแบ่งเซลล์
            และมีการเจริญขั้นที่สองได้เช่นกัน


                   ในขณะที่เกิดการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อแคมเบียมนั้น  เนื้อเยื่อ cork cambium (phellogen) ที่
            เกิดจากเนื้อเยื่อในชั้นของ pericycle จะมีการแบ่งเซลล์และให้เนื้อเยื่อ cork  (phellem) และ corky

            parenchyma  (phelloderm)  โดยเนื้อเยื่อ  cork จะอยู่ด้านนอก ท าหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อ

            ด้านในแทนเนื้อเยื่อ อิพิเดอร์มีส  เนื้อเยื่อทั้งสามเรียกรวมกันว่า periderm  เมื่อเกิดขึ้นก็สามารถคงทนอยู่
            เป็นเวลานาน  โดย endodermis และ cortex จะหลุดหายไป  ท าให้ส่วนนอกสุดของรากมี cork สีน้ าตาล

            เกิดขึ้น  ในรากพืชบางชนิด อาจมี lenticels เหมือนที่พบในล าต้น (ภาพที่ 3.12)








                                                                                  รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62