Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
46
โครสร้างพืช
4.3 เนื้อเยื่อเจริญ ground meristem เปลี่ยนแปลงไปเป็นชั้น cortex ที่ประกอบด้วย
เนื้อเยื่อถาวรพื้น (ground tissue) เช่น พาเรนไคมา คอเลนไคมา เป็นต้น
ในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์นี้ บริเวณที่อยู่นอกสุดคือเซลล์ epidermis ซึ่งเปลี่ยนแปลง
มาจากเนื้อเยื่อเจริญ protoderm นั้น ยังมีเซลล์ที่มีลักษณะเป็นขนยื่นออกมา เรียกว่า ขนราก (root hair)
เกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ไม่เท่ากันของเซลล์ชั้นอิพิเดอร์มิส (ภาพที่ 3.6) ขนรากนี้จัดเป็น trichome ชนิด
หนึ่ง ท าหน้าที่เหมือนรากคือ ดูดน้ า โดยเกิดในบริเวณใกล้กับผิวดินที่รากชอนไชไป โดยทั่วไปแล้วขนราก
มักมีอายุสั้น
root hair
ภาพที่ 3.6 การเกิดรากขน ในเนื้อเยื่อชั้น epidermis
การเจริญขั้นแรกของราก (primary growth of root)
เมื่อมีการเจริญขั้นแรกของรากเกิดขึ้นจะพบเนื้อเยื่อถาวร ชนิดต่าง ๆ ประกอบเป็นโครงสร้างของ
ราก ดังแสดงในภาพที่ 3.7 รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และ ภาพที่ 3.8 รากพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งพบเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ
ชัดเจน ได้แก่
1) epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว อยู่ด้านนอกสุดติดกับผิวดิน ท า
หน้าที่ดูดน้ าและแร่ธาตุ และปกคลุมเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน โดยทั่วๆ ไป epidermis เป็นเซลล์ชั้นเดียว แต่
มีบางพืชที่มีหลายชั้นเป็น multiple epidermis เช่น พืชที่มีรากอากาศในวงศ์ Orchidaceae พืช
epiphyte ในวงศ์ Aracheae
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ