Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
41
ราก
2. รากพิเศษ (adventitious root) หมายถึงรากที่ไม่ได้มีก าเนิดมาจากเอมบริโอของเมล็ด
โดยตรง แต่เกิดมาจากส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น ล าต้น กิ่ง ใบ ข้อ หรือเนื้อเยื่ออื่นของรากที่ไม่ใช่เป็นเนื้อเยื่อ
pericycle เรียกรากเหล่านี้ว่า รากพิเศษ (adventitious root) (ภาพที่ 3.1) ซึ่งอาจมีการแตกสาขา
เช่นเดียวกับรากแก้ว หรือไม่มีการการแตกสาขาก็ได้ ตัวอย่างพืชที่มีรากพิเศษได้แก่ รากฝอยของพืช
ตระกูลหญ้า ที่เกิดจากเนื้อเยื้อเจริญบริเวณข้อ
นอกจากการจ าแนกรากตามการก าเนิดแล้ว สามารถจัดระบบรากตามลักษณะการแผ่กระจาย
ของราก (root system) ได้เป็น 2 แบบ (ภาพที่ 3.2) คือ
1). ระบบรากแก้ว (tap root system) หมายถึงระบบรากที่มีรากแก้วเป็นรากหลักในการค้ าจุน
และมีการแตกแขนงของรากแก้วออกไป โดยรากแก้วมีขนาดใหญ่ และมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ารากแขนง
พบในระบบรากของพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกมาโดยตรงจากเมล็ด
ก) ข)
tap root system fibrous root system
ภาพที่ 3.2 ก ) ระบบรากแก้ว (tap root system) ในพืชใบเลี้ยงคู่ และ ข) ระบบรากฝอย (fibrous
root system) ในพืชตระกูลหญ้า
2). ระบบรากฝอย (fibrous root system หรือ diffuse root system) หมายถึงระบบรากที่มีราก
ขนาดใกล้เคียงกันอยู่เป็นจ านวนมาก โดยไม่มีรากหลักหรือรากแก้ว รากเหล่านี้เกิดแผ่กระจายไปทั่ว
บริเวณ เรียกว่า รากฝอย (fibrous root หรือ diffuse root) พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะพืชในวงศ์
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ