Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              44
                     โครสร้างพืช


                   นอกจากท าหน้าที่ป้องกันอันตรายและช่วยในการชอนไชของรากแล้ว  หมวกรากยังท าหน้าที่ใน

            การตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลก (geotropism)    ถ้าตัดปลายรากบริเวณหมวกรากออก  รากยังคง
            เจริญต่อไปได้แต่จะไม่มีการตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลกจนกว่าจะมีการสร้างเนื้อเยื่อหมวกรากขึ้นมา

            ใหม่  เชื่อว่าเซลล์บริเวณส่วนกลางของหมวกรากมีสาร inclusion ที่เป็นของแข็งเรียกว่า  statolith ซึ่งเป็น
            เม็ดแป้ง  ท าหน้าที่ส่งการกระตุ้นที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลก  แต่ยังไม่ทราบว่าเม็ดแป้ง amyloplast ไป

            ท าหน้าที่ให้เกิดการตอบสนองนี้ได้อย่างไร  แต่มีผู้เชื่อว่าการตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลกเกิดจาก
            บทบาทของ endoplasmic  reticulum  (ER)  ที่ท าหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิดขวางทางเดินของสารเร่งการ

            เจริญเติบโต  ท าให้เกิดการสะสมออกซิน (auxins) บริเวณด้านล่างของราก
























                                                              root apical meristem





                                                                root cap



                   ภาพที่ 3.4  ลักษณะโครงสร้างปลายราก แสดง หมวกราก (root  cap)  และ เนื้อเยื่อเจริญ

                             ปลายราก (root apical meristem)
                    2.  เขตเซลล์แบ่งตัว (region of cell division หรือ meristematic region)  เป็นบริเวณที่อยู่

            ถัดจากหมวกรากขึ้นไป  เซลล์ในบริเวณนี้มีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา  และประกอบด้วยเซลล์ที่มีขนาด

            เล็ก ผนังเซลล์บาง และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน  ภายในเซลล์มีไซโตพลาสซึมหนาแน่นเกือบเต็มเซลล์  แว
            คิวโอลมีขนาดเล็กมองไม่เห็นชัด  และมีนิวเคลียสขนาดใหญ่  บริเวณดังกล่าวนี้มีการแบ่งตัวของเซลล์

            ระยะต่างๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการย้อมสีและตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ก าลังขยายสูงๆ (ภาพที่


            รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55