Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              42
                     โครสร้างพืช


            หญ้า เช่น ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง เป็นต้น  การเกิดของรากฝอยในระบบรากฝอยนี้  เกิดขึ้นเมื่อเมล็ด

            งอก จะมีการพัฒนาของรากแก้วที่เกิดจากเอมบริโอตามปกติ   จากนั้นมีการสร้างรากจากเอมบริโออีก 4-5
            ราก  เรียกว่า รากชั่วคราว (seminal root หรือ seed root)  ต่อมามีรากงอกออกมาจากส่วนของล าต้นที่

            อยู่เหนือดิน เจริญเติบโตแผ่กระจายออกไปยึดกับผิวดินและหยั่งลงไปในดินบริเวณโคนต้น  เรียกว่า ราก
            ฝอย (fibrous  root)    ซึ่งถือว่าเป็นรากพิเศษชนิดหนึ่ง  ส าหรับรากชั่วคราวโดยเฉพาะพืชในวงศ์หญ้า

            ส่วนมากจะเกิดมาเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วตายไปในที่สุด  แต่ในพืชบางชนิดอาจคงอยู่ตลอดอายุขัย
            ของพืชได้ (ภาพที่ 3.2)



            หน้าที่ของราก

                    รากมีหน้าที่ส าคัญ คือ

                    1.  ยึดล าต้นให้ติดกับดิน

                    2.  ดูดซึมน้ าและเกลือแร่ ที่อยู่ในดินเข้าไปในล าต้น

                    3.  เคลื่อนย้ายน้ าและเกลือแร่ และอาหารที่สะสมไว้ในรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช

                    4.  ·ท าหน้าที่พิเศษเฉพาะในพืชบางชนิด เช่น สะสมอาหาร หายใจ หรือการสังเคราะห์ด้วยแสง

                    โดยปกติแล้ว การเกิดรากเริ่มจาก เมื่อเมล็ดได้รับความชื้นและสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการ

            งอกของเมล็ด เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายราก (root  apical  meristem)  ตรงบริเวณส่วนล่างของส่วนใต้ใบ
            เลี้ยงของเอมบริโอ ที่เรียกว่า เรดิเคล (radicle) มีเนื้อเยื่อ promeristem ซึ่งจะแบ่งเซลล์ ขยายขนาด และ

            เปลี่ยนแปลงไปเป็นกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อขั้นแรก 3  กลุ่ม คือ protoderm,  procambium  และ ground
            meristem ต่อจากนั้นเนื้อเยื่อเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพให้ก าเนิดกลุ่มเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อท าหน้าที่

            เฉพาะเป็นนื้อเยื่อขั้นแรก 3  กลุ่ม คือ epidermis,  vascular  cylinder  และ cortex  และรวมกันเป็น
            โครงสร้างขั้นแรกของราก



            โครงสร้างของราก

                    ลักษณะโครงสร้างของรากที่สังเกตได้ คือ ส่วนของหมวกราก  ซึ่งเป็นบริเวณปลายรากที่มี

            ลักษณะพองตัวเล็กน้อย ท าให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไป และอาจมีสีคล้ ากว่าบริเวณอื่น  พืช

            บางชนิดอาจสังเกตด้วยตาเปล่าไม่เห็น  บริเวณถัดขึ้นมาคือ รากขน (root  hair)    ซึ่งจะเห็นเป็นขนเล็ก
            ละเอียด มีขนาดและความยาวแตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดพืช  ตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าไปจนถึง






            รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53