Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
43
ราก
ขนาดความยาวมากกว่า 0.5 มิลลิเมตร และเมื่อตัดปลายรากตามแนวยาวและศึกษาลักษณะของ
โครงสร้างภายใน สามารถแบ่งปลายรากตามลักษณะของเนื้อเยื่อพืชที่ปรากฏได้เป็น (ภาพที่ 3.3)
1. หมวกราก (root cap) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของราก ท าหน้าที่ปกคลุมปลายรากและ
ป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อส่วนปลายสุดของรากที่ก าลังแบ่งตัว ขณะเดียวกันก็ช่วยในการชอนไชของ
รากลงไปในดิน เซลล์หมวกรากเกิดมาจากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical
meriatem) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมาที่มีชีวิตเรียงตัวกันอย่างหลวมๆ และอาจมีเม็ดแป้งอยู่
ภายใน เซลล์เหล่านี้มีอายุสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่อื่น เนื่องจากรากพืชมีการชอนไชลง
ไปในดิน จึงท าให้เซลล์ในบริเวณนี้ถูกท าลายได้ง่าย แต่จะมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่จากการ
แบ่งตัวของเซลล์ที่อยู่ถัดเข้าไป โดยปกติ หมวกรากจะปกคลุมบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายราก ท าให้
สามารถแยกความแตกต่างจากเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดซึ่งไม่มีส่วนปกคลุมไว้ (ภาพที่ 3.4) โดยทั่วไปพืช
ทั่วไปเกือบทุกชนิดมีหมวกรากมากกว่าพืชน้ าซึ่งมีหมวกรากขนาดเล็กหรือไม่มีเลย แต่บางชนิด เช่น
ผักตบชวา และแหน จะสังเกตเห็นหมวกรากได้อย่างชัดเจน
Region of cell maturation
Region of cell elongation
Region of cell division
root cap
ภาพที่ 3.3 ปลายรากตัดตามยาวแสดงบริเวณต่าง ๆ ของปลายรากตามลักษณะเนื้อเยื่อภายใน
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ