Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
39
เนื้อเยื่อพืช
แล้วเกิดเป็นรูเปิดที่เรียกว่า ปากใบ (stomata) เซลล์ epidermis บางเซลล์สามารถเปลี่ยนรูปไป
เป็นรากขน
11. เนื้อเยื่อพาเรนไคมาประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังบาง ขณะที่ collenchyma ส่วนมากมีผนังหนา
โดยเฉพาะบริเวณขอบเซลล์ ท าให้อวัยวะพืชมีความยืดหยุ่นได้
12. เนื้อเยื่อ sclerenchyma มีอยู่ 2 ชนิด คือ fiber (เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างผอมยาว) และ sclereids ที่มี
รูปร่างหลายแบบ ทั้ง 2 ชนิดมีผนังหนา และไม่มีชีวิตเมื่อเซลล์เจริญเต็มที่
13. เนื้อเยื่อเชิงซ้อน (complex tissues) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดที่มาท า
หน้าที่เฉพาะอย่าง ที่ส าคัญในพืช ได้แก่ กลุ่มท่อน้ า (xylem) และ กลุ่มท่อล าเลียงอาหาร
14. กลุ่มท่อล าเลียงน้ า (xylem) เป็นเนื้อเยื่อมีหน้าที่น าน้ าและสารละลายในต้นพืช ประกอบด้วย
เซลล์พวกพาเรนไคมา fibers, vessels, tracheids ตลอดจน ray cells
15. กลุ่มท่อล าเลียงอาหาร (phloem) เป็นเนื้อเยื่อท าหน้าที่ล าเลียงอาหารที่พืชสร้างได้มาใช้และสะสม
ประกอบด้วยเซลล์ sieve-tube elements, companion cells (ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไปควบคุม sieve-
tube elements), พาเรนไคมา และ fiber ตลอดจน ray cells ตัว sieve-tube
16. periderm ประกอบด้วย cork, cork cambium และ phelloderm ในชั้นของ epidermis อาจมี
เซลล์ที่เกาะกันหลวมๆ เกิดเป็นรอยแตกของ lenticels ที่เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนก๊าซ เนื้อเยื่อ
นี้พบในส่วนด้านนอกของเปลือกไม้ (bark) ของพืชที่เป็นไม้เนื้อแข็ง (woody plants)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ