Page 93 -
P. 93

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  แม้จะเริ่มมีการเพาะเลี้ยงปลาสวายโมง แต่รายงานสถิติผลผลิตปลาน�้าจืดของกรมประมง
            ไม่ได้จ�าแนกปลาสวายโมงไว้แต่รายงานผลผลิตเป็นปลาสวายโดยรวม ผลผลิตปลาสวายจาก
            การเพาะเลี้ยงมีอยู่ไม่ถึงร้อยละสองของผลผลิตจากสัตว์น�้าจากการเพาะลี้ยงโดยรวม อยู่ในอันดับ
            ที่สิบเป็นรองปลาสลิด มีพื้นที่เพาะเลี้ยงประมาณสองหมื่นไร่และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีผู้เพาะเลี้ยง

            กว่าหนึ่งหมื่นราย
                         24
                  เวียดนามเป็นผู้น�าในการเพาะเลี้ยงปลาสวายในกลุ่มสมาชิกอาเซียนและในตลาดโลก
            มีผลผลิตมากกว่าปีละหนึ่งล้านตัน ในปี 2554 ผลผลิตเป็น 1,151.000 พันตัน ในอาเซียนรองจาก
            เวียดนามมีเพียงอินโดนีเซียที่ผลิตได้ในหลักแสน คือเป็น 229.267 พันตัน นอกนั้นเลี้ยงได้ใน
            หลักหมื่น อันดับที่สามได้แก่กัมพูชา 26.400 พันตัน ตามมาด้วยอันดับที่สี่ สหภาพพม่า มีผลผลิต
            15.922 พันตัน อันดับที่ห้าคือ ประเทศไทยมีผลผลิต 15.252 พันตัน รองจากไทยเป็นมาเลเซียเป็น
            ผู้ผลิตในอันดับที่หกมีผลผลิต 10.892 พันตัน สิงคโปร์มีผลผลิตเพียง 36 ตัน อีกสามประเทศคือ
            ฟิลิปปินส์ สปป.ลาว และบรูไนไม่มีรายงานผลผลิตปลาสวายจากการเพาะเลี้ยง ผลผลิตปลาสวาย
            ที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทยและสิงคโปร์องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงาน

            ข้อมูลไว้เป็น Striped catfish ในขณะที่ปลาสวายที่เพาะเลี้ยงในประเทศอื่นแสดงไว้เป็น Pangas
            catfishes nei (ตารางที่ 6.11)

            ตารางที่ 6.11 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสวายจากการเพาะเลี้ยง
                       ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554

                                         อินโดนีเซีย
                  รายการ          ไทย            เวียดนาม  สหภาพพม่า  มาเลเซีย  กัมพูชา  สิงคโปร์


             ผลผลิต (พันตัน)    15.252     229.267  1,151.000      15.922      10.892     26.400   0.036
             มูลค่าต่อหน่วย
             (เหรียญสหรัฐ/กก.)      0.97         1.94       1.50       1.10      2.38      1.50    3.99

            ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)

                  แม้จะมีการเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้เพียงเจ็ดประเทศในอาเซียน แต่ปริมาณที่เลี้ยงขั้นต�่า
            ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ก็อยู่ในหลักหมื่นตัน ปลาสวายจัดเป็นปลาน�้าจืดที่ส�าคัญชนิดหนึ่งในภูมิภาค
            อาเซียนรองไปจากปลานิล มีสถานะไม่เป็นรองปลาดุกที่เลี้ยงกันในแปดประเทศ (ที่ไม่มีรายงาน
            การเลี้ยงปลาดุกคือ สปป.ลาว และบรูไน) ในหลายประเทศมีผลผลิตปลาสวายสูงกว่าปลาดุก
            อยู่มากได้แก่ เวียดนาม สหภาพพม่า กัมพูชา และ สิงคโปร์ มีเฉพาะไทยและมาเลเซียที่มีผลผลิต

            ปลาสวายน้อยกว่าปลาดุก

               24   ในปี 2553 กรมประมงรายงานจ�านวนผู้เลี้ยงปลาสวาย  12,085  ราย มากกว่าผู้เลี้ยงปลาสลิดเกือบ
                 เท่าตัว พื้นที่เพาะเลี้ยง 20,443 ไร่ น้อยกว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงปลาสลิดกว่าหกเท่า ผลผลิต 27,026 พันตัน
                 น้อยกว่าปลาสลิด



            84    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98