Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรกรในพื้นที่ที่ศึกษาที่นครสวรรค์ให้ความเห็นว่าที่ไม่นิยมเลี้ยงปลาสวายให้ได้เนื้อ
สีขาวเพื่อการส่งออกเนื่องจากเกษตรกรขาดความมั่นใจในด้านตลาด หากจะเลี้ยงเพื่อขายห้อง
เย็นแล่เนื้อท�าฟิลเล่ต์เพื่อส่งออก ปลาต้องมีเนื้อสีขาวและขนาดตัวละ 400 กรัมขึ้นไปจากฟาร์มที่
ได้รับการรับรองมาตรฐานเท่านั้น หากท�าได้ดังนี้จะสามารถขายได้ในราคาประมาณ 40 บาท
ต่อกิโลกรัมในขณะที่ปลาสวายทั่วไปขายในราคา 29 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรยังขาดเงินทุน
ในการปรับปรุงการเพาะเลี้ยง และผู้รับซื้อยังมีไม่มากราย ส่วนผู้รับซื้อในประเทศต้องการซื้อปลา
ขนาดใหญ่ไปแล่เนื้อแต่ให้ราคาต�่า
เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวายในพื้นที่ศึกษาที่นครสวรรค์เห็นว่าที่เป็นปัญหามาก
คือ ราคาอาหารปลาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่มีปัญหาค่อนข้างมากคือน�้าท่วมในส่วนของ
ความสนับสนุนจากภาครัฐที่เกษตรกรเห็นว่าต้องการมากคือ เรื่องของตลาดและราคา ในเรื่องอื่นๆ
ที่ต้องการแต่ค่อนข้างน้อยได้แก่การให้ความรู้ การจดทะเบียนฟาร์ม ตลอดจนการบริหารจัดการ
น�้าเพื่อแก้ปัญหาน�้าท่วม (ตารางผนวกที่ 2)
ตารางที่ 6.12 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสวายและปลาสวายโมง
ผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนรวม ราคาขาย ก�าไร
รายการ (กระชัง:กก./ (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
ตร.ม.)
(บ่อดิน: กก./
ไร่)
2548-สวายโมง กระชังในแม่น�้าโขง 3 31 2 45 47 95 48
2548-สวายโมง กระชังในอ่างเก็บน�้า 3 48 3 58 61 95 34
2553-สวาย เฉลี่ยภาคกลาง บ่อดิน 1 2,768 na na 15 27 12
2553-สวาย เฉลี่ยภาคกลาง ใต้เล้าไก่ 1 1,456 na na 7 20 13
2556-สวาย นครสวรรค์ บ่อดิน 4 2,283 6 22 28 29 1
ที่มา: ศิราณีและธีระชัย (2548) คฑาวุธและคณะ (2548) เจษฎาและคณะ (2553) ข้อมูลส�ารวจใน
2
3
1
4
โครงการศึกษานี้ (2556) เฉพาะปี 2556 เป็นราคาปี 2556 ที่มาจากการสอบถามเกษตรกร นอกจากนั้น
เป็นราคา ณ ระดับราคา ปี 2554
ในส่วนของการเพาะเลี้ยงปลาสวายโมง เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลาสวายโมงยังมีน้อยราย
และยังไม่ช�านาญการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ต้องการการส่งเสริมด้านวิธีการเพาะเลี้ยง และยังมีปัญหา
ขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ ช่วงเวลาที่จะเพาะพันธุ์ได้เป็นช่วงสั้นๆ ยังไม่สามารถอนุบาลและ
เพาะฟักลูกปลาสวายโมงได้มากพอกับการส่งเสริมการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ทั้งในการเลี้ยงปลาสวาย
โมงในกระชัง ประเทศไทยยังมีพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่จ�ากัด เช่น ต้องวางกระชังในบริเวณแม่น�้าโขง
จากการสอบถามเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวายในพื้นที่ที่ศึกษา เกษตรกรทั้งหมดเห็นว่า
จะไม่มีต่างชาติเข้ามาลงทุนแปรรูปปลาสวายเนื่องจากผลผลิตในประเทศไทยยังมีไม่มาก ไม่มี
แรงงานไทยที่จะออกไปท�างานเพาะเลี้ยงปลาสวายในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ไม่มีปัญหา
สิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรหรือปัญหาอาชญากรรม และไม่มีปัญหา
88 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน