Page 92 -
P. 92
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังเชิงพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อ�าเภอท่าอุเทน
จังหวัดนครพนมด�าเนินการ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน�้าจืดสกลนครทดลองเลี้ยงปลาสวาย
โมงในกระชังในแม่น�้าโขง ปล่อยลูกปลา 50 - 200 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรให้อาหารเม็ดลอยน�้าระดับ
โปรตีนร้อยละ 30 เริ่มต้นเลี้ยงตั้งแต่ขนาด 68 - 74 กรัม/ตัวใช้เวลา 7 เดือนได้ปลาน�้าหนัก
467 - 516 กรัม อัตราการแลกเนื้ออยู่ระหว่าง 1.7 - 2.1 และในภาคเหนือสถานีประมงน�้าจืด
จังหวัดเชียงรายได้ทดลองเลี้ยงปลาสวายโมงโดยวางกระชังในอ่างเก็บน�้าที่ความลึก 3 เมตร
ปล่อยลูกปลาบางกว่าคือ 25 - 45 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ให้อาหารเม็ดลอยน�้าระดับโปรตีน
ร้อยละ 30 เช่นเดียวกันโดยเริ่มต้นเลี้ยงตั้งแต่ขนาด 51 กรัม ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าคือ 12 เดือน ได้
ปลาขนาดใหญ่กว่าคือมีน�้าหนัก 944 - 1,060 กรัม/ตัว อัตราการแลกเนื้อสูงกว่าคืออยู่ระหว่าง
2.27 - 2.59 มีต้นทุนการเลี้ยง 51 - 60 บาทต่อกิโลกรัม (กรมประมง 2550)
ข้อเสียของการเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชัง คือ ควบคุมโรคระบาดได้ยาก เมื่อปลาเป็น
โรคก็รักษาได้ยาก ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน�้าได้ หลังฝนตกหนักน�้าเป็นตะกอนขุ่นแดงและ
อาจมีสารเคมีทางการเกษตรที่ถูกชะล้างปนมากับน�้าฝน นอกจากนี้อาหารที่ให้ปลาสวายโมงใน
กระชังจะต้องเป็นอาหารส�าเร็จรูป หรืออาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน เนื่องจากปลาไม่สามารถหา
อาหารธรรมชาติกินได้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามปกติ (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้าจืดชัยนาท ม.ป.ป.)
กรมประมงมีนโยบายปรับโครงสร้างการเลี้ยงปลาสวายใหม่ ให้เป็นการเลี้ยงในระบบ
น�้าไหล มีการให้อาหารที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อให้ได้ปลาสวาย
ที่มีคุณภาพเนื้อดี สีขาว ไม่มีกลิ่นและไม่มีมันมาก ปัจจุบันเริ่มด�าเนินการอยู่ที่ เขื่อนล�าปาว
จังหวัดกาฬสินธุ์ และจะส่งเสริมให้เลี้ยงในพื้นที่ที่มีเขื่อนใหญ่หรือที่มีระบบชลประทานที่ดีที่มี
น�้าไหลผ่านตลอด เช่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี หรืออาจจะเป็นทางภาคใต้ นอกจากนี้
ที่ศูนย์วิจัยประมงน�้าจืดบางไทร จังหวัดอยุธยาจะทดลองเลี้ยงปลาสวายเป็นระบบปิดในบ่อซีเมนต์
23
22 เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังมีการงการพัฒนาการเลี้ยงปลามรกต แต่ยังไม่มีข่าวว่าประสบความส�าเร็จในการ
พัฒนาธุรกิจปลามรกต บางแห่งเรียกปลามรกตว่าปลาหูหลุด เอกชนอื่นที่ไม่ใช่เครือเจริญโภคภัณฑ์
ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้จะเรียกชื่อเป็นปลาหูหลุด เป็นปลาลูกผสมระหว่าปลาเทโพกับปลาสวาย
เพื่อให้ได้ปลาที่มีเนื้อขาว ไม่มีกลิ่น นอกจากนี้ยังมีลูกผสมระหว่างปลาบึกกับปลาสวายเรียกว่า
บึกสยาม เป็นปลาลูกผสม การผสมข้ามพันธุ์มีความจ�าเป็นส�าหรับการขยายการผลิตปลาสวายให้ได้
ทั้งคุณภาพ ราคา และตรงตามความต้องการของตลาด
23 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้อ�านวยการส�านักวิจัยและพัฒนาประมงน�้าจืด ธันวาคม 2555 อย่างไรก็ตาม
มีผู้ให้ความเห็นว่าปลาสวายที่เลี้ยงในประเทศไทยแต่เดิม ซึ่งเป็น Pangasius hopopthalmus ชื่อ
สามัญ Striped catfish มีเนื้อออกสีเหลือง มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อโตเต็มวัย ไม่ว่าระบบจัดการจะดี
อย่างไรทั้งสีและกลิ่นจะยังปรากฏแต่อาจลดระดับความรุนแรงลงบ้าง
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 83 I