Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เศษอาหาร และอาหารส�าเร็จรูป กรมประมงส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาสลิดในบ่อมากขึ้นเพื่อลด
ขนาดของพื้นที่เพาะเลี้ยงซึ่งในพื้นที่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ท�าโรงงานอุตสาหกรรม มีการทดลอง
เลี้ยงในบ่อและพัฒนาลูกพันธุ์และอาหารที่จังหวัดสมุทรสาครและมีการเพาะพันธุ์ปลาสลิด
ที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ยังได้ผลไม่เพียงพอต่อความต้องการเลี้ยง กรมประมงก�าลังขยายให้
มีการเพาะพันธุ์ในทุกภาคเพื่อเพิ่มผลผลิต พื้นที่ที่สามารถขยายการเลี้ยงได้ดีน่าจะเป็นพื้นที่
ทางภาคใต้บริเวณที่มีป่าพรุ ส�าหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพื้นที่ดินค่อนข้างเค็มไม่เหมาะกับ
17
การเลี้ยงปลาสลิด
ผลผลิตปลาสลิดจากการเพาะเลี้ยงมีประมาณยี่สิบตันต่อปี จัดเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตมาก
เป็นอันดับที่เก้า ใกล้เคียงแต่เป็นรองปลากะพงขาวที่อยู่ในอันดับที่แปด มีพื้นที่เพาะเลี้ยง จ�ากัด
เพิ่มขึ้นไม่มากแต่ผลผลิตยังเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้น แต่การเพาะเลี้ยงปลาสลิด
ใช้พื้นที่มาก มีพื้นที่เพาะเลี้ยงกว่าหนึ่งแสนไร่เป็นรองพื้นที่เพาะเลี้ยงปลาตะเพียน มีการเลี้ยงมาก
ขึ้นโดยปัจจุบันมีการเลี้ยงในบ่อมากที่สุด การเลี้ยงในนาลดลง ปัจจุบันมีประมาณครึ่งหนึ่งของ
การเลี้ยงในบ่อ มีที่เลี้ยงในร่องสวนเล็กน้อย จ�านวนผู้เลี้ยงรวมมีมากกว่าหกพันราย 18
มีการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเพียงในสามประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศที่มีผลผลิตมากที่สุด
คือไทย 15.935 พันตัน อีกสองประเทศที่เหลือมีผลผลิตปลาสลิดจากการเพาะเลี้ยงในหลักพันตัน
ได้แก่ กัมพูชา 7.300 พันตัน และเวียดนาม 2.735 พันตัน ปลาสลิดจากประเทศไทยเป็นที่นิยมใน
หมู่ผู้บริโภคปลาชนิดนี้ในอาเซียน แม้ว่าจะเป็นสัตว์น�้าจืดที่มีผลผลิตน้อยกว่าชนิดอื่นๆ ที่ศึกษา
แต่ก็มีผู้ค้าจากต่างประเทศเข้ามาติดต่อขอซื้อจากแหล่งผลิตในประเทศไทย และยังมีโอกาสใน
การแปรรูปเพื่อส่งออก (ตารางที่ 6.9)
ตารางที่ 6.9 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาสลิดที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
รายการ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา
ผลผลิต (พันตัน) 15.935 2.735 7.300
มูลค่าต่อหน่วย (เหรียญสหรัฐ/กก.) 1.64 0.80 2.50
ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)
ในสามประเทศสมาชิกอาเซียนที่การเพาะเลี้ยงปลาสลิดประเทศที่มีมูลค่าต่อหน่วยต�่าที่สุด
คืออินโดนีเซีย 0.80 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมและยังมีผลผลิตน้อยที่สุด มูลค่าต่อหน่วยของปลาสลิด
จากการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้นมาคือของไทย 1.64 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ไทยเป็นประเทศสมาชิก
อาเซียนที่มีผลผลิตปลาสลิดจากการเพาะเลี้ยงมากที่สุดแต่มูลค่าต่อหน่วยสูงกว่าของอินโดนีเซีย
17 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้อ�านวยการส�านักวิจัยและพัฒนาประมงน�้าจืด ธันวาคม 2555
18 กรมประมงรายงานจ�านวนผู้เลี้ยงปลาสลิด 6,614 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง 134,337 ไร่ ผลผลิต 34.419
พันตัน ในปี 2553 ผลผลิตที่รายงานโดยองค์การอาหารเกษตรและสหประชาชาติต�่ากว่าที่รายงาน
โดยกรมประมง
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 79 I