Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่สมุทรปราการยังมีปัญหาน�้าไม่พอเลี้ยงปลาเกษตรกรขาดแคลนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง
ในการเลี้ยงมีปัญหาศัตรูปลาสลิด เช่น นกและหอยเชอรี่ เกษตรกรเห็นว่าท�าให้ผลผลิตที่ได้ต�่าใน
ด้านตลาดยังมีปัญหามีผู้รับซื้อน้อยรายส่งผลให้ราคาที่ได้รับต�่าโดยผู้ซื้อเป็นฝ่ายก�าหนดราคา
เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดที่สมุทรปราการให้ความเห็นว่าปัญหาที่รุนแรงคือ การมี
น�้าเค็มรุกเข้ามาในพื้นที่เลี้ยงปลา ตามมาด้วยปัญหาน�้าเสีย และศัตรูปลาสลิดที่เป็นปัญหาแต่
ค่อนข้างน้อย คือการขาดแคลนพันธุ์ปลา และอุณหภูมิน�้าในพื้นที่เลี้ยงปลา(ตารางผนวกที่ 2)
เกษตรกรมีข้อเสนอให้กรมประมงพัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาสลิดให้มีเพียงพอ ให้หน่วยงานของรัฐ
เข้ามาดูแลที่ดินที่ใช้เพาะเลี้ยงแก้ไขปัญหาน�้าเค็มและน�้าเสีย ส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรโดยช่วย
หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต�่า และสนับสนุนรวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปปลาสลิด ที่ต้องการ
ความสนับสนุนจากรัฐค่อนข้างมากคือ เรื่องของการให้ความรู้และราคา ที่ตามมาในระดับค่อน
ข้างน้อยคือ เรื่องของตลาดและการจดทะเบียนฟาร์ม (ตารางผนวกที่ 3)
ส�าหรับผลกระทบที่อาจเกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรที่สอบถาม
ทั้งหมดเห็นว่าอาจท�าให้ราคาปลาสลิดสูงขึ้นเนื่องจากมีการส่งออก อาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุน
แปรรูปปลาสลิด เช่นท�าห้องเย็น แรงงานจากอาเซียนอาจเข้ามาท�างานเพาะเลี้ยงมากขึ้น เนื่องจาก
มีโอกาสได้รับค่าจ้างที่ดีขึ้นแต่อาจน�าไปสู่ปัญหาอาชญากรรมและการแย่งกันใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่จ�ากัด เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าอาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงปลาสลิด แรงงานไทย
อาจออกไปท�างานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เช่นที่กัมพูชาซึ่งต้องการแรงงานที่มีทักษะการ
เพาะเลี้ยง การเข้ามาของต่างชาติอาจน�าไปสู่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่และกรรมสิทธิ์
ในที่เพาะเลี้ยงที่มีอยู่จ�ากัด เกษตรกรมากกว่าครึ่งเห็นว่าจะมีทางเลือกปัจจัยการผลิตมากขึ้น
แรงงานไทยอาจออกไปท�างานในอาเซียนมากขึ้น ระดับมาตรฐานสินค้าปลาสลิดจะดีขึ้น และจะ
มีการน�าเข้ามากขึ้น ซึ่งรัฐควรเข้มงวดเรื่องคุณภาพสินค้าน�าเข้าให้ไม่น้อยไปกว่าผลผลิตในประเทศ
แต่มีอยู่น้อยรายที่เห็นว่าจะมีผู้ประกอบการไปลงทุนเลี้ยงปลาสลิดในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น
(ตารางผนวกที่ 4)
6.6 การเพาะเลี้ยงปลาสวาย
ปลาสวายที่เลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยมีสามชนิด ที่มีการเลี้ยงกันทั่วไปคือปลาสวายชนิด
Pangasianodon hypophthalmus ปลาเผาะ (Pangasius Boucorti) ที่ยังมีปัญหาในการผลิตลูก
พันธุ์ได้น้อยต้องพึ่งลูกพันธุ์ที่ได้จากธรรมชาติ และปลาสวายโมงซึ่งยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่
เป็นปลาที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้และอยู่ระหว่างส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้
ปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus) หรือที่มีชื่อสามัญว่า Striped catfish มี
แหล่งก�าเนิดในประเทศอินเดียและสหภาพพม่า ต่อมาได้แพร่เข้ามาในประเทศอินโดนีเซียและ
ไทย ปลาชนิดนี้มีพบในแถบ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ในประเทศไทยมีการเลี้ยงปลา
สวายในบ่อดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน�้าธรรมชาติ เช่นที่ จังหวัด
นครสวรรค์และอุทัยธานี กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ส�าเร็จในปี 2509 และหลังจากนั้น
สามปีเอกชนมีสามารถเพาะฟักปลาสวายได้ มีการเลี้ยงกันทั่วไป
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 81 I