Page 95 -
P. 95

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ปลาที่เลี้ยงในสหภาพพม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซียรายงานไว้เป็น Pangas
            catfishes nei น่าจะต่างจากปลาสวายในประเทศไทยและสิงคโปร์ที่รายงานไว้เป็น Striped catfish

                  เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงปลาสวายในประเทศไทย เวียดนาม และสหภาพพม่าการเลี้ยง
            ปลาสวายของไทยเป็นการเลี้ยง Striped catfish โดยเกษตรกรรายย่อยและเลี้ยงร่วมกับปลาชนิด
            อื่นๆ แต่การเลี้ยงปลาสวายของเวียดนามและสหภาพพม่าเป็นการเลี้ยง Pangas catfishes nei
            โดยเลี้ยงเชิงเดี่ยว ที่เวียดนามมีทั้งเลี้ยงในกระชัง ในบ่อน�้าจืด และในที่ล้อมรั้ว (fenced) ส่วน
            การเลี้ยงในสหภาพพม่าเป็นการเลี้ยงในกระชังเชิงพาณิชย์ ซึ่งการเลี้ยงในเวียดนามมีปลาสวาย
            เป็นอุตสาหกรรมสัตว์น�้าหลัก มีผลผลิตสูง และในสหภาพพม่าเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ซึ่งย่อมมี
            ผลผลิตสูงเช่นกัน กรณีของไทยเป็นการเลี้ยงแบบผสมผสานผลผลิตต�่ากว่า คาดว่าหากเกษตรกร
            ไทยปรับปรุงวิธีเลี้ยงให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งพบว่ามีเกษตรกรบางรายท�าได้ในปัจจุบันและหาช่อง
            ทางการตลาดให้เหมาะสม ประเทศไทยยังมีช่องทางในการพัฒนาการเลี้ยงปลาสวาย เวียดนาม
            ซึ่งเลี้ยงปลาสวายได้มากที่สุดมีการเลี้ยงปลาสวายหลากหลายวิธีมีการเลี้ยงในกระชัง ในบ่อน�้า

            จืด และในที่ล้อมรั้วซึ่งกั้นคล้ายคอกปลาในน�้า การเลี้ยงในกระชังให้ผลผลิตสูงมากกว่า 100
            กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นการเลี้ยงอย่างหนาแน่น ซึ่งเวียดนามท�าได้เนื่องจากพื้นที่เลี้ยงอยู่
            บริเวณปากแม่น�้าที่น�้ามีการหมุนเวียนดี การเลี้ยงในที่ล้อมรั้วมีผลผลิตสูงเช่นกันเป็น 55.2 ตันต่อ
            ไร่ต่อรอบ การเลี้ยงในบ่อน�้าจืดมีช่วงผลผลิตค่อนข้างกว้าง 23 - 98 ตันต่อไร่ต่อรอบขึ้นกับความ
            เหมาะสมของพื้นที่เลี้ยง และคาดว่าคงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตปลาชนิดนี้ได้อีกมากนัก
                                                                            25
                  การเลี้ยงปลาสวายแบบหนาแน่นที่เวียดนามท�าได้ผลและมีพื้นที่เลี้ยงที่เอื้ออ�านวยส่งเสริม
            ให้เวียดนามสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาชนิดนี้ และสามารถเป็นผู้น�าทั้งในการเลี้ยง

            และการส่งออกปลาสวาย ขีดจ�ากัดในการขยายการเลี้ยงอาจส่งผลให้เวียดนาม ต้องมองหาช่อง
            ทางการลงทุนเลี้ยงปลาสวายในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ขณะเดียวกันก็หาช่องทางพัฒนาการ
            เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอื่นในเวียดนามควบคู่กันไป
                  ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ส่งออกปลาในวงศ์ปลาสวายในสกุล Pangasius ที่ได้จากการเพาะ
            เลี้ยงรายใหญ่ของโลก  ในปี พ.ศ. 2553 ส่งออกไปกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปซึ่งเป็น
            ผู้รับซื้อรายใหญ่ เป็นจ�านวนประมาณ 44,000 ตัน ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาประมาณ 32,000
            ตัน และประเทศในอเมริกาใต้ประมาณ 84,000 ตัน  ปลาสวายที่เวียดนามขายได้เป็นปลาเนื้อ
                                                   26
            ขาว ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา แม้ในระยะแรกที่เข้าตลาดจะถูก
            ต่อต้านจากประเทศผู้น�าเข้า โดยเฉพาะสหรัฐฯซึ่งเป็นไปในลักษณะการให้ความคุ้มครองแก่
            อุตสาหกรรมปลาเนื้อขาวในประเทศผู้น�าเข้าและให้ความคุ้มครองแก่เกษตรผู้เลี้ยงปลาในกลุ่ม

            catfish ในประเทศผู้น�าเข้า




               25   ตารางผนวกที่ 7
               26   www.globlefish.org/pangasius-februry-2011.html




            86    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100