Page 91 -
P. 91
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเลี้ยงปลาสวายสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อและในกระชัง เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นได้ เช่น
ปลาตะเพียน ปลานิล เป็นต้น ปลาสวายเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และมักจะไม่มีพยาธิรบกวน
ภาพลักษณ์ของปลาสวายในประเทศไทยจัดเป็นปลาน�้าจืดเกรดต�่าเนื่องจากมีไขมันมาก
มีกลิ่นโคลน และสภาพการเลี้ยงที่ไม่ถูกสุขอนามัย เช่น การเลี้ยงแบบเกษตรผสมผสานใต้เล้าไก่
ใต้เล้าหมู หรือการใช้เศษอาหารเลี้ยง เป็นต้น ในขณะที่ประเทศเวียดนามมีรูปแบบการเลี้ยงที่
ใช้อาหารมีคุณภาพและมีต้นทุนค่าอาหารที่ถูกกว่าประเทศไทย รูปแบบการเลี้ยงมีการเปลี่ยน
ถ่ายน�้าได้บ่อยเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออ�านวย เวียดนามจึงสามารถเลี้ยงปลาสวายเพื่อ
ส่งออก เนื้อปลามีคุณภาพเนื้อเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
ระบบการเลี้ยงปลาสวายในประเทศไทยในปัจจุบันยังเป็นการเลี้ยงในบ่อดิน และมักจะ
เป็นการเลี้ยงแบบดั้งเดิมโดยอาหารที่ใช้จะมีทั้งให้มูลไก่มูลสุกรหรือเศษอาหาร ท�าให้เนื้อปลาที่
เลี้ยงได้มีกลิ่น มีมันมากและมีสีเหลือง
ประเทศไทยยังมีปลาตระกูลเดียวกับปลาสวายที่เรียกกันว่าปลาเผาะ (Pangasius
Boucorti) หรือปลาโมง ได้ลูกพันธุ์ปลาจากแม่น�้าโขง ในเวียดนามเรียกปลาชนิดนี้ว่า Basa
ซึ่งเวียดนามมีลูกพันธุ์ปลาจากธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มากกว่าที่มีในประเทศไทย โครงการสถาบัน
อาหารแห่งชาติ โดยความสนับสนุนจากผู้ประกอบการเข้าไปร่วมมือกับหน่วยราชการของจังหวัด
นครพนมท�าโครงการเพาะเลี้ยงปลาเผาะ โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงในรูปวิสาหกิจชุมชนท�ากิจกรรม
ตั้งแต่เพาะเลี้ยง แปรรูป และจัดจ�าหน่าย แต่มีปัญหาที่มีลูกพันธุ์ปลาเผาะไม่มากพอ สถานีประมง
จังหวัดนครพนมที่ได้รับมอบหมายให้ผลิตลูกพันธุ์ปลาเผาะสนับสนุนแต่ไม่สามารถท�าได้มากพอ
เนื่องจากปลาเผาะให้ไข่น้อย (หลักพัน) จึงผสมข้ามระหว่างพ่อปลาเผาะกับแม่ปลาสวายให้ไข่ได้
เป็นหลักแสน (เดชา และศิริภรณ์ 2550) ลูกปลาที่ได้ อธิบดีกรมประมง ดร.จรัลธาดา กรรณสูตร
ให้ใช้ชื่อว่า “สวายโมง” ชื่อสามัญคือ Thai Panga Fish หรือ Siam Panga Fish กรมประมง
ส่งเสริมให้เลี้ยงเพื่อส่งออกและเลี้ยงทดแทนปลาเผาะที่หาลูกพันธุ์ได้ยาก ขยายการเพาะเลี้ยงไป
ยังพื้นที่ที่แม่น�้าโขงไหลผ่าน
ลูกผสมสวายโมงที่เกิดขึ้นนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Tra ของเวียดนาม มีสีเนื้อออกชมพู
บ้างแต่ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ราคาถูกกว่าปลาเผาะ เป็นปลาเกรดรองของการส่งออกปลาสวาย
ของเวียดนาม ปลาชนิดเดียวกันนี้บริษัทเจริญโภคภัณฑ์มีการวางจ�าหน่ายในประเทศไทยในนาม
ของ ปลาดอร์รี่” แต่ไม่ใช้ชื่อนี้ในภาษาอังกฤษ ระบุไว้ในภาษาไทยด้วยว่าเป็น “ปลาแพนกาเซียส”
ระบุชื่อภาษาอังกฤษไว้เป็น Pangasius แต่ไม่ใช้ชื่อในภาษาไทยว่าเป็นปลาสวาย มีวางจ�าหน่าย
ในลักษณะเนื้อปลาแล่เป็นชิ้น (Fillet) แช่แข็ง
คาดว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์อาจจะมีแหล่งเลี้ยงปลาสวายหรือสวายโมงในประเทศไทย
และอาจน�าเข้าจากที่เลี้ยงในเวียดนามอีกส่วนหนึ่ง ทั้งนี้มีข่าวว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าไปลงทุน
เลี้ยงปลาสวายในเวียดนามด้วย และพยายามพัฒนาพันธุ์ปลาสวายที่เลี้ยงในประเทศไทย
22
โดยคาดหวังจะให้พัฒนาตามรูปแบบที่ท�ามาส�าหรับปลาทับทิม
82 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน